ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร

๓. อุปกิเลสสูตร
ว่าด้วยความเศร้าหมอง
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ เป็นเหตุให้ ทองเศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เหล็ก ๒. โลหะ ๓. ดีบุก ๔. ตะกั่ว ๕. เงิน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้ ทองเศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี แต่เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕ ประการนี้แล้ว เมื่อนั้น ทองนั้น ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่อง ไม่แตกง่าย ใช้งานได้ดี และช่างทองมุ่งหมายจะทำ เครื่องประดับชนิดใดๆ คือ แหวน ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง เครื่องประดับ ชนิดนั้นย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ ฉันใด ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ฉันนั้น เหมือนกัน ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ๒. พยาบาท (ความคิดร้าย) ๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร

แต่เมื่อใด จิตพ้นจากความเศร้าหมอง ๕ ประการนี้แล้ว เมื่อนั้น จิตนั้น ย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง ไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ และภิกษุจะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งใดๆ เมื่อมีเหตุ๑- เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัด ในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงใน แผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก ก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือ ปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๒- ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ @เชิงอรรถ : @ เมื่อมีเหตุ แปลจากบาลีว่า สติ สติอายตเน (เมื่อมีเหตุแห่งสติ) หมายถึงฌานที่เป็นบาท (เครื่อง @บรรลุ)กล่าวคือบุพเหตุแห่งอภิญญา @อีกนัยหนึ่ง หมายถึงอรหัตตผลเป็นเหตุแห่งอภิญญา ๖ ประการ หรือหมายถึงวิปัสสนาเป็นเหตุแห่ง @อรหัตตผล แต่ในที่นี้หมายถึงเหตุคืออุปนิสสัยแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้นๆ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๒/๒๕๕, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๑๗๕) @ จิตเป็นมหัคคตะ หมายถึงจิตที่ถึงความเป็นใหญ่กล่าวคือรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิต เพราะสามารถ @ข่มกิเลสได้ มีผลไพบูลย์และมีการสืบต่อยาวนาน หรือจิตที่ดำเนินไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาที่ @กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒) และดู อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๖๐-๒๖๘/๕๗-๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร

จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้ เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป๑- เป็นอันมาก บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติ ก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึง หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขา หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่ว่าร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวน ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม @เชิงอรรถ : @ สังวัฏฏกัป หมายถึงกัปฝ่ายเสื่อม คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป หมายถึงกัปฝ่ายเจริญ คือ @ช่วงระยะเวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (ตามนัย วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๔. ทุสสีลสูตร

เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม กรรมอย่างนี้แล’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน ธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ
อุปกิเลสสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๗-๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=23              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=347&Z=418                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=23              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=23&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=135              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=23&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=135                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i021-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an5.23/en/sujato https://suttacentral.net/an5.23/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :