ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๕. อนุคคหิตสูตร
ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ๑- อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโต- วิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติ๒- เป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติ๓- เป็นผล มีปัญญา- วิมุตติเป็นผลานิสงส์ @เชิงอรรถ : @ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ แต่ในอรรถกถามัชฌิมนิกายอธิบายว่าหมายถึงอรหัตตมัคค- @สัมมาทิฏฐิ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕/๗, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๙) @ เจโตวิมุตติ ในที่นี้หมายถึงมัคคสมาธิและผลสมาธิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕/๗) @ ปัญญาวิมุตติ ในที่นี้หมายถึงผลญาณ ได้แก่ ผลปัญญาที่ ๔ กล่าวคืออรหัตตผลปัญญา @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕/๗, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร

องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ศีล๑- ๒. สุตะ๒- ๓. สากัจฉา๓- ๔. สมถะ๔- ๕. วิปัสสนา๕- ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ นี้แล สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ เป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็น ผลานิสงส์
อนุคคหิตสูตรที่ ๕ จบ
๖. วิมุตตายตนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ @เชิงอรรถ : @ ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔, @องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐) @ สุตะ ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐) @ สากัจฉา ในที่นี้หมายถึงการสนทนาบอกความเป็นไปแห่งจิตของตน (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔, @องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐) @ สมถะ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติ ๘ ที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐) @ วิปัสสนา ในที่นี้หมายถึงอนุปัสสนา ๗ ประการ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา @นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา และปฏินิสสัคคานุปัสสนา @องค์ ๕ ประการนี้เปรียบเหมือนกระบวนการปลูกมะม่วง คือ @ศีล เปรียบเหมือนการทำร่องน้ำรอบต้นไม้ เพราะเป็นมูลเหตุให้สัมมาทิฏฐิเจริญ @สุตะ เปรียบเหมือนการรดน้ำให้เหมาะแก่เวลา เพราะเพิ่มพูนภาวนา @สากัจฉา เปรียบเหมือนการตัดแต่งกิ่ง เพราะนำความยุ่งยากแห่งภาวนาออกไปได้ @สมถะ เปรียบเหมือนการทำทำนบกั้นน้ำให้แข็งแรง เพราะทำภาวนาให้มั่นคงยิ่งขึ้น @วิปัสสนา เปรียบเหมือนการใช้จอบขุดราก เพราะขุดรากตัณหา มานะ และทิฏฐิได้ @(ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๕, องฺ.เอกก.ฏีกา ๑/๑๑/๙๓, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๙-๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๑-๓๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=25              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=451&Z=460                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=25              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=25&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=151              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=25&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=151                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i021-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.025.than.html https://suttacentral.net/an5.25/en/sujato https://suttacentral.net/an5.25/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :