ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๑. สามกสูตร

๓. อนุตตริยวรรค
หมวดว่าด้วยอนุตตริยะ๑-
๑. สามกสูตร
ว่าด้วยหมู่บ้านสามะ
[๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารชื่อโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้าน สามะ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๒- เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วโปกขรณีย์วิหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๓- ๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย๔- ๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ๕- ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ” เมื่อเทวดานั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดานั้น รู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงถวายอภิวาททำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๘ หน้า ๔๑๙ ในเล่มนี้ @ เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงเมื่อปฐมยามผ่านไป มัชฌิมยามย่างเข้ามา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๘๙ (ปฐมเสขสูตร) หน้า ๑๕๙ ในเล่มนี้ @ ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงชอบสนทนาเกี่ยวกับบุรุษและสตรีเป็นต้น ให้วันและคืนผ่านไปโดยเปล่า @ประโยชน์ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) @ ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงภิกษุแม้จะยืนก็ตาม เดินก็ตาม นั่งก็ตาม ก็ถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่ @และเซื่องซึม) ครอบงำ เอาแต่หลับถ่ายเดียว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๑. สามกสูตร

ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง รัศมีให้สว่างทั่วโปกขรณีย์วิหาร เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน ๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ’ เทวดานั้นครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ชั่วแล้วหนอ ที่เธอทั้งหลาย เสื่อมจากกุศลธรรม แม้พวกเทวดาก็รู้ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหานิยธรรม (ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม) ๓ ประการข้ออื่นอีก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ปริหานิยธรรม ๓ ประการ ปริหานิยธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่๑- ๒. ความเป็นผู้ว่ายาก ๓. ความเป็นผู้มีปาปมิตร(มิตรชั่ว) ภิกษุทั้งหลาย ปริหานิยธรรม ๓ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @ ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ในที่นี้หมายถึงชอบอยู่คลุกคลีกับเพื่อน ๑ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ๓ คนบ้าง @เมื่ออยู่คนเดียวก็หาความสบายใจไม่ได้ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๒. อปริหานิยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายบางพวกในอดีตเสื่อมแล้วจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนทั้งหลายบางพวกในอนาคตจักเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น ทั้งหมดก็จักเสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนทั้งหลายบางพวกในปัจจุบันกำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น ทั้งหมดก็เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
สามกสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๕๐-๔๕๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=272              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=7307&Z=7341                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=292              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=292&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2430              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=292&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2430                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i292-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/06/an06-021.html https://suttacentral.net/an6.21/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :