![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๒. อปริหานิยสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม [๒๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม(ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่ง ความเสื่อม) ๖ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ อปริหานิยธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน๑- ๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย๒- ๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ๓- @เชิงอรรถ : @๑ ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงเมื่อพวกภิกษุทำกิจมีการทำจีวร ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ไม้กวาด และ @ผ้าเช็ดเท้าเป็นต้น ภิกษุปฏิเสธกิจเหล่านั้นเสียด้วยศรัทธา อนึ่ง หมายถึงทำกิจเหล่านั้นร่วมกับภิกษุทั้งหลาย @แล้วเรียนอุทเทสในเวลาเรียนอุทเทส สาธยายในเวลาสาธยาย กวาดลานพระเจดีย์ในเวลากวาดลานพระเจดีย์ @มนสิการในเวลามนสิการ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๖-๑๗๗) @๒ ไม่ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงไม่สนทนาเรื่องเกี่ยวกับบุรุษและสตรีเป็นต้น แต่สนทนาเฉพาะเรื่อง @เกี่ยวกับธรรมในเวลากลางวันกลางคืนให้เป็นประโยชน์ ตอบปัญหาธรรมตลอดวันและคืน พูดน้อย พูดมีที่ @จบ เพราะพุทธพจน์ว่า ภิกษุผู้นั่งประชุมกันมีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ สนทนาธรรม และเป็นผู้นิ่งอย่างพระ @อริยะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๒๗๓/๒๓๕ (ปาสราสิสูตร) @๓ ไม่ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงจะยืนก็ตาม จะเดินก็ตาม จะนั่งก็ตาม มีจิตตกภวังค์ เพราะกรช- @กายมีความเจ็บป่วยก็ตาม ก็ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำ เพราะฉะนั้นจึงมีพุทธพจน์ว่า เรากลับจากบิณฑบาต @หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว ปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น มีสติสัมปชัญญะ หยั่งลงสู่การนอนหลับโดยพระปรัศว์ @เบื้องขวารู้ชัดอยู่ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๓๘๗/๓๔๕ (มหาสัจจกสูตร) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๕๒}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. อนุตตริยวรรค ๓. ภยสูตร
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕. ความเป็นผู้ว่าง่าย ๖. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี) ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๖ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายบางพวกในอดีตไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็ไม่เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนทั้งหลายบางพวกในอนาคตจักไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น ทั้งหมดก็จักไม่เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนทั้งหลายบางพวกในปัจจุบันไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น ทั้งหมดก็ไม่เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แลอปริหานิยสูตรที่ ๒ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๕๒-๔๕๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=273 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=7342&Z=7355 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=293 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=293&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2439 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=293&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2439 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i292-e.php#sutta2 http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/06/an06-022.html https://suttacentral.net/an6.22/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]