ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๔. มหาจุนทสูตร

๔. มหาจุนทสูตร
ว่าด้วยพระมหาจุนทะ๑-
[๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ ณ นิคมชื่อว่าสัญชาติ ในแคว้นเจตี สมัย นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาจุนทะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ในพระธรรมวินัยนี้ พวกภิกษุผู้ประกอบธรรม๒- รุกรานพวก ภิกษุผู้เพ่งฌานว่า “ภิกษุเหล่านี้ เพ่ง พินิจ ยึด หน่วงฌานอยู่ว่า ‘พวกเราเป็น ผู้เพ่งฌาน พวกเราเป็นผู้เพ่งฌาน’ ภิกษุเหล่านี้เพ่งฌานทำไม เพ่งฌานเพื่ออะไร เพ่งฌานเพราะเหตุไร” พวกภิกษุผู้ประกอบธรรม ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น และพวกภิกษุ ผู้เพ่งฌานก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้เพ่งฌานรุกรานพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมว่า “ภิกษุเหล่านี้คิดว่า ‘พวกเราเป็นผู้ประกอบธรรม พวกเราเป็นผู้ประกอบธรรม’ เป็น ผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิต ไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ภิกษุเหล่านี้ประกอบธรรมทำไม ประกอบธรรมเพื่ออะไร ประกอบธรรมเพราะเหตุไร” พวกภิกษุผู้เพ่งฌานไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น และพวกภิกษุ ผู้ประกอบธรรมก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน @เชิงอรรถ : @ หมายถึงพระมหาจุนทะผู้เป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดี (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๖/๑๒๘) @ ภิกษุผู้ประกอบธรรม ในที่นี้หมายถึงพระธรรมกถึก (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๖/๑๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๑๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๔. มหาจุนทสูตร

หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พวกภิกษุผู้ประกอบธรรมสรรเสริญพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญ พวกภิกษุผู้เพ่งฌาน พวกภิกษุผู้ประกอบธรรมไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น และพวกภิกษุผู้เพ่งฌานก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พวกภิกษุผู้เพ่งฌานสรรเสริญพวกภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญพวกภิกษุ ผู้ประกอบธรรม และพวกภิกษุผู้เพ่งฌานไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น และพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คน หมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘พวกเราทั้งหลายเมื่อเป็นผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญพวกภิกษุผู้เพ่งฌาน’ ท่าน ทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้ถูกต้องอมตธาตุ ด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายเมื่อเป็น ผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญพวกภิกษุผู้ประกอบธรรม’ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียก อย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้รู้แจ้ง เห็นอัตถบทอันลึกซึ้ง๑- ด้วย ปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก
มหาจุนทสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ อัตถบทอันลึกซึ้ง หมายถึงข้อความที่มีขันธ์ ธาตุ และอายตนะ เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๖/๑๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๑๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๑๒-๕๑๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=297              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=8389&Z=8426                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=317              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=317&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2885              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=317&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2885                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i314-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an06/an06.046.than.html https://suttacentral.net/an6.46/en/sujato https://suttacentral.net/an6.46/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :