ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. สุมนวรรค ๔. สีหเสนาปติสูตร

๔. สีหเสนาปติสูตร
ว่าด้วยสีหเสนาบดี
[๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มี พระภาคทรงบัญญัติผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองได้ไหม” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ได้ สีหะ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า สีหะ ๑. ทายก ทานบดี๑- ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก แม้ข้อนี้ ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๒. สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาทายก ทานบดี แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทาน ที่จะพึงเห็นเอง ๓. กิตติศัพท์อันงามของทายก ทานบดีย่อมขจรไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผล แห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๔. ทายก ทานบดีจะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ก็เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่ จะพึงเห็นเอง ๕. ทายก ทานบดี หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ แม้ ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองในภพหน้า” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีจึงกราบทูลว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เพียงเชื่อต่อพระผู้มีพระภาค ในเรื่องผลแห่งทาน ๔ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้วนี้เท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย คือ ข้าพระองค์ @เชิงอรรถ : @ ทายก ในที่นี้หมายถึงผู้แกล้วกล้าในการให้ทาน คือ ไม่ใช่มีเพียงศรัทธาเท่านั้น แต่กล้าที่จะบริจาคได้ด้วย @ทานบดี หมายถึงผู้เป็นใหญ่ในทาน คือให้ของที่ดีกว่าของที่ตนบริโภค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๔/๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. สุมนวรรค ๔. สีหเสนาปติสูตร

เป็นทายก เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก สัตบุรุษผู้สงบย่อม คบหาข้าพระองค์ผู้เป็นทายกเป็นทานบดี กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ผู้เป็น ทายกเป็นทานบดี ย่อมขจรไปว่า ‘สีหเสนาบดีเป็นทายก เป็นผู้รับใช้ เป็นผู้บำรุง พระสงฆ์’ ข้าพระองค์ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ จะเป็น ขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ก็เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เพียงเชื่อ ต่อพระผู้มีพระภาคในเรื่องผลแห่งทาน ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้วนี้ เท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองประการที่ ๕ ที่พระผู้มี พระภาคตรัสบอกข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ทายก ทานบดี หลังจากตายแล้วจะไปเกิด ในสุคติโลกสวรรค์’ นั้นข้าพระองค์ยังไม่ทราบ แต่ข้าพระองค์ก็เชื่อต่อพระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสย้ำว่า “ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น สีหะ ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น สีหะ คือ ทายก ทานบดี หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” นรชนผู้ไม่ตระหนี่ ให้ทานอยู่ ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก คนหมู่มากย่อมคบหานรชนนั้น เขาย่อมได้รับเกียรติ เจริญด้วยยศ เป็นผู้ไม่เก้อเขิน แกล้วกล้าเข้าสู่บริษัท เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิตทั้งหลายผู้หวังสุข จงขจัดความตระหนี่อันเป็นมลทินแล้วให้ทาน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมดำรงในไตรทิพย์ ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดา รื่นเริงอยู่ตลอดกาลนาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. สุมนวรรค ๕. ทานานิสังสสูตร

บัณฑิตเหล่านั้นได้โอกาสบำเพ็ญกุศลแล้ว ละโลกนี้ไป ย่อมมีรัศมีเปล่งปลั่ง เที่ยวชมไปในอุทยานชื่อนันทวัน เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เพลิดเพลิน รื่นเริง บันเทิงอยู่ในนันทวันนั้น สาวกทั้งปวงของพระสุคตผู้ไม่มีกิเลส ผู้คงที่ ทำตามพระดำรัสของพระองค์แล้ว ย่อมรื่นเริงในสวรรค์
สีหเสนาปติสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๔-๕๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=841&Z=886                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=34              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=34&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=491              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=34&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=491                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i031-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.034.than.html https://suttacentral.net/an5.34/en/sujato https://suttacentral.net/an5.34/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :