ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๔. มนาปทายีสูตร
ว่าด้วยผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวรเสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ของอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ ปูลาดไว้ ลำดับนั้น อุคคคหบดีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ของเคี้ยวชื่อสาลปุปผกะ๑- เป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับ ขาทนียาหารของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด” @เชิงอรรถ : @ ของเคี้ยวชื่อสาลปุปผกะ หมายถึงของเคี้ยวที่ทำด้วยแป้งข้าวสาลี ปรุงด้วยของอร่อย ๔ ชนิด คือ เนยใส @น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร

พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็เนื้อสุกรอย่างดี๑- เป็นที่ น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเนื้อสุกร อย่างดีของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็นาลิยสากะ๒- ซึ่งทอด ด้วยน้ำมันเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับนาลิยสากขาทนียาหารของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่ ขาวสะอาด มีแกงและกับมากเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรง อาศัยความอนุเคราะห์รับข้าวสุกแห่งข้าวสาลีของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ผ้าที่ทอในแคว้นกาสี เป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับผ้า ของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว @เชิงอรรถ : @ เนื้อสุกรอย่างดี หมายถึงเนื้อสุกรที่มีอายุ ๑ ปี ที่ปรุงให้สุกด้วยเครื่องปรุงมีเมล็ดยี่หร่าเป็นต้นผสมกับ @พุทรารสอร่อย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๕) @ นาลิยสากะ หมายถึงของเคี้ยวที่ใช้ผักประมาณ ๑ ทะนาน ขยำกับแป้งข้าวสาลีแล้วเคี่ยวในเนยใสที่ผสม @เมล็ดยี้หร่าเป็นต้น ผสมกับของอร่อย ๔ ชนิด อบให้สุก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร

อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็บัลลังก์๑- ที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์๒- ลาดด้วยผ้าขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดมี สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานข้างบน มีหมอนสีแดงทั้ง ๒ ข้าง๓- เป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็ทราบ ดีว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ควรแก่พระผู้มีพระภาค เตียงไม้จันทน์ของข้าพระองค์นี้ราคาเกิน กว่า ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเตียง ของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลี ด้วย อนุโมทนียกถานี้ว่า ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ ผู้ใดให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ และปัจจัยมีประการต่างๆ แก่ท่านผู้ประพฤติตรง ด้วยความพอใจ สิ่งของที่ให้ไปแล้วนั้น เป็นของที่บริจาคแล้ว สละแล้ว ไม่คิดเอาคืน ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสัตบุรุษรู้ชัดว่า พระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญ บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยาก ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ @เชิงอรรถ : @ บัลลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) @ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะหรือแกะ ผืนใหญ่มีขนาดยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) @ หมอนสีแดงทั้ง ๒ ข้างนี้ใช้สำหรับหนุนศีรษะ ๑ ใบ ใช้หนุนเท้า ๑ ใบ วางไว้ส่วนศีรษะและส่วนเท้า @(วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙-๑๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร

ที่นั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทรงอนุโมทนาอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลีด้วย อนุโมทนียกถาแล้ว จึงเสด็จลุกจากพุทธอาสน์หลีกไป ต่อมาไม่นาน อุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลีได้ถึงแก่กรรม เข้าถึงชั้นกายมโนมัย๑- ชั้นใดชั้นหนึ่ง สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรี๒- ผ่านไป อุคคเทพบุตรมี มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามว่า “อุคคะ สำเร็จตามที่ท่านประสงค์แล้วหรือ” อุคคเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ สำเร็จตามที่ข้าพระองค์ประสงค์แล้ว พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอุคคเทพบุตรด้วยพระคาถาว่า ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้น จะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ
มนาปทายีสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ กายมโนมัย ในที่นี้หมายถึงเทพกายหรือพรหมกายของผู้บำเพ็ญฌานสมาบัติแล้วบังเกิดในพรหมโลก @ชั้นสุทธาวาสด้วยอำนาจฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๖, ๑๖๖/๖๔) @ ราตรี ในที่นี้หมายถึงปฐมยามแห่งราตรีผ่านไป มัชฌิมยามย่างเข้ามา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๗๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๙-๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=1110&Z=1169                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=44              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=44&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=562              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=44&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=562                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i041-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an5.44/en/sujato https://suttacentral.net/an5.44/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :