ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๘. ฐานสูตร

๘. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ใครๆ ไม่พึงได้
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ๑- ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้ ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา๒- อย่าแก่ ๒. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้ ๓. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตาย ๔. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไป ๕. ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา อย่าฉิบหาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความ แก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็น ธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ และการอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะ หยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็น ธรรมดา แก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตน นั่นเองให้เดือดร้อน สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี ความตายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของ @เชิงอรรถ : @ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๘/๒๖) @ ธรรมดา ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดเอง คำนี้มุ่งแสดงกฎแห่งเหตุผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๘. ฐานสูตร

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหาย ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราคน เดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มี การมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น ธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะ หยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหาย เป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน ส่วนสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่ มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มี ความแก่เป็นธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็น ธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความ แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศรคือความ โศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี ความตายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไป เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น ธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น ธรรมดาฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๘. ฐานสูตร

ไปเป็นธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น ธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะ เสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อม ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำตน นั่นเองให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ ได้ด้วยตนเอง ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้ ประโยชน์๑- แม้เล็กน้อยในโลกนี้ ใครๆ ย่อมไม่ได้ด้วยความเศร้าโศก ย่อมไม่ได้ด้วยความคร่ำครวญ พวกศัตรูทราบว่า เขาเศร้าโศก เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ แต่ในกาลใด บัณฑิตฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย ในกาลนั้น พวกศัตรูเห็นหน้าซึ่งไม่ผิดปกติ ของบัณฑิตนั้น ผู้ยังยิ้มแย้มตามเคย ย่อมเป็นทุกข์ บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใดๆ ด้วยวิธีใดๆ คือด้วยการสรรเสริญ ด้วยการร่ายมนตร์ @เชิงอรรถ : @ ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่มีความแก่เป็นต้นกลับกลายเป็นสภาวะที่ไม่แก่ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๘/๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๙. โกสลสูตร

ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ด้วยการให้ หรือด้วยการอ้างประเพณี ก็พึงบากบั่นในที่นั้นๆ ด้วยวิธีนั้นๆ ถ้าทราบว่า ‘ประโยชน์นี้ เราหรือคนอื่นไม่พึงได้’ เธอผู้ไม่เศร้าโศก ควรอดทนโดยพิจารณาว่า ‘เราได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นแล้ว บัดนี้ เราจะทำอย่างไร’
ฐานสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๗๘-๘๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=48              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=1232&Z=1305                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=48              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=48&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=592              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=48&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=592                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i041-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an5.48/en/sujato https://suttacentral.net/an5.48/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :