ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. ยมกวรรค ๑. ปฐมสัทธาสูตร

๓. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมคู่กัน
๑. ปฐมสัทธาสูตร๑-
ว่าด้วยศรัทธา สูตรที่ ๑
[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วย คิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วย องค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มี ศรัทธา มีศีล และเป็นพหูสูต’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และเป็นพหูสูต เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และเป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นธรรมกถึก๒- ฯลฯ เป็น ธรรมกถึก แต่ไม่เข้าไปสู่บริษัท ฯลฯ เข้าไปสู่บริษัท แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่ บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๓- ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก ฯลฯ ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แต่ไม่ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘-๑๐/๑๒-๑๖ @ ธรรมกถึก หมายถึงผู้แสดงธรรม หรือนักเทศน์ซึ่งจะต้องมีองค์ธรรม ๕ ประการ คือ (๑) แสดงธรรมไปตาม @ลำดับ (๒) แสดงอ้างเหตุ (๓) แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (๔) ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม (๕) แสดงธรรม @ไม่กระทบตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๕๙/๒๖๓) @ มีในจิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ (ม.มู.อ. ๑/๖๖/๑๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. ยมกวรรค ๑. ปฐมสัทธาสูตร

อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เธอชื่อว่าเป็น ผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัท แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน’ เมื่อใด ภิกษุ ๑. มีศรัทธา ๒. มีศีล ๓. เป็นพหูสูต ๔. เป็นธรรมกถึก ๕. เข้าไปสู่บริษัท ๖. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ๗. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความ ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๘. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้น ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ก่อให้เกิด ความเลื่อมใสได้รอบด้าน๑- และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง๒-”
ปฐมสัทธาสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ก่อให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน หมายถึงมีกายกรรม และวจีกรรมที่น่าเลื่อมใส (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘/๓๑๙) @ บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงบริบูรณ์ด้วยอาการของสมณะ ด้วยธรรมของสมณะ @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๑-๗๒/๒๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๘๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๗๙-๓๘๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=144              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=6624&Z=6655                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=168              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=168&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6299              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=168&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6299                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i168-e.php# https://suttacentral.net/an8.71/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :