ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๒. อัสสขฬุงกสูตร๓-
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก คนกระจอก ๓ จำพวก ม้าดี ๓ จำพวก และคนดี ๓ จำพวก ม้าอาชาไนย๔- พันธุ์ดี ๓ จำพวก และบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น ม้ากระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ @เชิงอรรถ : @ มีสติ ในที่นี้หมายถึงมีสติมั่นคง เพราะมนุษย์มีทั้งสุขและทุกข์คละเคล้ากัน ซึ่งต่างจากเทวดาและสัตว์นรก @ที่มีสติไม่มั่นคง เพราะเทวดามีแต่สุขอย่างเดียว และสัตว์นรกมีแต่ทุกข์อย่างเดียว (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓) @ เพราะพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติในชมพูทวีป จึงมีการประพฤติพรหมจรรย์คืออริยมรรค @มีองค์ ๘ (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓) และดู อภิ.ก. ๓๗/๒๗๑/๙๕ @ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๔๑-๑๔๓/๓๘๗-๓๙๒ (อัสสขฬุงกสูตร อัสสสทัสสสูตร) @ ม้าอาชาไนย ในที่นี้หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๑๕๔/๑๐๕) @หรือ หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๗/๓๓๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. สัตตาวาสวรรค ๒. อัสสขฬุงกสูตร

๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์๑- แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย วรรณะ๒- ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา แต่เขาถูก ถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็จนปัญญา ตอบไม่ได้ เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ วรรณะของเขา และเขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- เภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ เชาว์ของม้า หมายถึงกำลังวิ่งหรือความมีฝีเท้าเร็ว (ปทชวะ) เชาว์ของคน หมายถึงกำลังวิ่งหรือหมายถึง @ญาณคือความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓, องฺ.นวก.อ. ๓/๒๒/๓๐๔) @ วรรณะของม้า หมายถึงสีสันแห่งสรีระ วรรณะของคน หมายถึงคุณ คือความมีปฏิภาณในการโต้ตอบแก้ @ปัญหาในเรื่องอภิธรรม อภิวินัย ไม่จนปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓, องฺ.นวก.อ. ๓/๒๒/๓๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. สัตตาวาสวรรค ๒. อัสสขฬุงกสูตร

คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและ อภิวินัยก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูง และความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความ สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและ อภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูง และความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้าดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ ๒. ม้าดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ ๓. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. สัตตาวาสวรรค ๒. อัสสขฬุงกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนดีบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ๒. คนดีบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ๓. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ฯลฯ คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและ ความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น โอปปาติกะ๑- ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ ๒. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ ๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วย วรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกนี้แล @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น @เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดในสุทธาวาส @(ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหา เป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสใน @สุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. สัตตาวาสวรรค ๓. ตัณหามูลกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ๒. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ๓. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ฯลฯ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็น วรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกนี้แล
อัสสขฬุงกสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๗๖-๔๘๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=185              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=8435&Z=8522                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=226              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=226&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6847              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=226&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6847                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i225-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an9.22/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :