ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร

๕. อุปาสกวรรค
หมวดว่าด้วยอุบาสก
๑. กามโภคีสูตร
ว่าด้วยกามโภคีบุคคล๑-
[๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดี ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึง ได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า คหบดี กามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก กามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ๒. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ ทำบุญ ๓. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ๔. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรม และ ไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ @เชิงอรรถ : @ กามโภคีบุคคล หมายถึงผู้บริโภคกาม, ผู้ครองเรือน, คฤหัสถ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๕/๒๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร

๕. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและ ไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ๖. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและ ไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ๗. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วย การงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่ แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ๘. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วย การงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ๙. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วย การงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ แต่เป็นผู้มัวเมา หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น ๑๐. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการ งานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญา เป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น บรรดากามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนั้น กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถาน คือ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรติเตียนโดย สถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร

กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้น แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คือ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถาน เดียวนี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ แต่ควรสรรเสริญ โดยสถานเดียวนี้ (๒) กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด ครั้น แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญนี้ ควรติเตียนโดย สถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถาน ที่ ๑ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘แจกจ่าย ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ (๓) กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ด้วย การงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่ แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว ควรติเตียนโดย ๓ สถาน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ ไม่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วย การงานที่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควร ติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควร สรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๔) กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ด้วย การงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่ แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน ควรติเตียนโดย ๒ สถาน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร

งานที่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควร ติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ควร สรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ (๕) กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์ทั้งโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ด้วย การงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ ควรสรรเสริญ โดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควร ติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ด้วยการงานที่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่าย ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลผู้บริโภคกามคุณนี้ ควรสรรเสริญ โดย ๓ สถานนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ (๖) กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น แสวงหาได้แล้ว ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข และไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญ โดยสถานเดียว ควรติเตียนโดย ๒ สถาน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควรติเตียนโดยสถาน ที่ ๑ นี้ว่า ‘ไม่บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ควรติเตียน โดย ๒ สถานนี้ (๗) กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญ โดย ๒ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควรสรรเสริญโดยสถาน ที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ ควรติเตียน โดยสถานเดียวนี้ (๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๑. กามโภคีสูตร

กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้มัวเมา หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่า นั้นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ ควรสรรเสริญโดย สถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควร สรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถาน ที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่าย ทำบุญ’ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘เป็นผู้มัวเมา หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์ เหล่านั้น’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานนี้ ควรติเตียนโดย สถานเดียวนี้ (๙) กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น แสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครี่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์ เหล่านั้นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด’ ควรสรรเสริญโดย สถานที่ ๒ นี้ว่า ‘บำรุงตนให้เป็นสุข’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่าย ทำบุญ’ ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๔ นี้ว่า ‘ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น’ คหบดี กามโภคีบุคคลนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานนี้ (๑๐) คหบดี กามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก บรรดากามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดย ชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงตนให้เป็นสุข และ แจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นหัวหน้า สูงส่ง ล้ำเลิศ เปรียบเหมือนนมสดที่เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิด จากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส ชาวโลกเรียกว่า เลิศกว่า นมส้มเป็นต้น เหล่านั้น ฉันใด บรรดากามโภคีบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ กามโภคีบุคคลที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร

แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุง ตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นหัวหน้า สูงส่ง ล้ำเลิศ ฉันนั้นเหมือนกัน
กามโภคีสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๐๗-๒๑๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=89              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=4056&Z=4181                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=91              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=91&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8256              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=91&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8256                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i091-e.php# https://suttacentral.net/an10.91/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :