![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๕. อปรลกุณฏกภัททิยสูตร ว่าด้วยพระลกุณฏกภัททิยเถระ อีกสูตรหนึ่ง [๖๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเดินตามหลัง ภิกษุทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ @เชิงอรรถ : @๑ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๒๙๗/๓๘๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๑๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค]
๕. อปรลกุณฏกภัททิยสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระลกุณฏกภัททิยะมีผิวพรรณ หยาบ ไม่น่าดู มีร่างกายค่อมเตี้ย ถูกภิกษุดูหมิ่น กำลังเดินตามหลังภิกษุทั้งหลาย มาแต่ไกล จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็น ภิกษุรูปนั้นผู้มีผิวพรรณหยาบ ไม่น่าดู มีร่างกายค่อมเตี้ย ถูกภิกษุดูหมิ่น กำลัง เดินตามหลังภิกษุทั้งหลายมาแต่ไกลหรือไม่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะเธอเคยเข้าสมาบัติมาแล้วแทบทุกชนิด เธอใช้ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ทำให้ แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑- อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่าพุทธอุทาน เธอจงดูรถ๒- ซึ่งมีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ๓- มีหลังคาขาว๔- มีเพลาเดียว๕- ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส ไม่มีเครื่องผูก๖-อปรลกุณฏกภัททิยสูตรที่ ๕ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๒๑๒ ในเล่มนี้ @๒ รถ หมายถึงร่างกาย (สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๓๔๗/๓๘๐, ขุ.อุ.อ. ๖๕/๓๙๖) @๓ ส่วนประกอบอันไม่มีโทษ หมายถึงอรหัตตผลศีล (สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๓๔๗/๓๘๐, ขุ.อุ.อ. ๖๕/๓๙๖) @๔ หลังคาขาว หมายถึงอรหัตตผลวิมุตติ (สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๓๔๗/๓๘๐, ขุ.อุ.อ. ๖๕/๓๙๖) @๕ เพลาเดียว หมายถึงสติ (สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๓๔๗/๓๘๐, ขุ.อุ.อ. ๖๕/๓๙๖) @๖ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๔๗/๓๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๑๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๑๓-๓๑๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=100 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=3841&Z=3862 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=151 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=151&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=8815 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=151&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=8815 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.7.05.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.7.05.niza.html https://suttacentral.net/ud7.5/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud7.5/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]