![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๒. ทุกนิบาต]
๑. ปฐมวรรค ๘. ปฐมนกุหนสูตร
๘. ปฐมนกุหนสูตร๑- ว่าด้วยการไม่หลอกลวง สูตรที่ ๑ [๓๕] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์นี้ มิใช่เพื่อจะลวงคน มิใช่เพื่อจะ เกลี้ยกล่อมคน มิใช่เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและการสรรเสริญ มิใช่เพื่อให้ คนรู้ว่า คนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้ แท้จริง ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์นี้ก็เพื่อ สังวร๒- และเพื่อปหานะ๓- เท่านั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์อันเป็นธรรมกำจัดความจัญไร๔- ทำให้สัตว์ถึงนิพพานเพื่อสังวร เพื่อปหานะ ทางนี้ ท่านผู้ใหญ่ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ดำเนินไปแล้ว อนึ่ง เหล่าชนผู้ปฏิบัติตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แลปฐมนกุหนสูตรที่ ๘ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕/๔๑ @๒ สังวร (การสำรวม) มี ๕ อย่าง คือ (๑) ปาติโมกขสังวร (สำรวมในปาติโมกข์) (๒) สติสังวร (สำรวม @ด้วยสติ) (๓) ญาณสังวร (สำรวมด้วยญาณ) (๔) ขันติสังวร (สำรวมด้วยขันติ) (๕) วิริยสังวร (สำรวม @ด้วยความเพียร) (ขุ.อิติ.อ. ๓๕/๑๒๖, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๒๕/๓๒๓-๓๒๔) @๓ ปหานะ (การละ) มี ๕ อย่าง คือ (๑) ตทังคปหานะ (ละกิเลสด้วยองค์นั้นๆ) (๒) วิกขัมภนปหานะ @(ละกิเลสด้วยการข่มไว้) (๓) สมุจเฉทปหานะ (ละกิเลสด้วยตัดขาด) (๔) ปฏิปัสสัทธิปหานะ (ละกิเลส @ด้วยสงบระงับ) (๕) นิสสรณปหานะ (ละกิเลสด้วยสลัดออกได้) (ขุ.อิติ.อ. ๓๕/๑๒๖, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๒๕/๓๒๔-๓๒๕) @๔ ความจัญไร มีความหมายหลายนัย คือ นัยที่ ๑ หมายถึงอุปัททวะที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต นัยที่ ๒ @หมายถึงอุปกิเลสมีตัณหาเป็นต้น นัยที่ ๓ หมายถึงลัทธิเดียรถีย์ นัยที่ ๔ หมายถึงวิจิกิจฉา @(ขุ.อิติ.อ. ๓๕/๑๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๘๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๘๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=150 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=5034&Z=5053 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=213 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=213&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=2669 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=213&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=2669 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.2.028-049.than.html#iti-035 https://suttacentral.net/iti35/en/ireland https://suttacentral.net/iti35/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]