ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๒. ธนิยสูตร
ว่าด้วยการโต้ตอบระหว่างนายธนิยะกับพระพุทธเจ้า
[๑๘] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้) ข้าพเจ้าปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว รีดน้ำนมโคไว้แล้ว อยู่ร่วมกับบริวารช่วยเหลือกัน ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี มุงหลังคากั้นฝาเรือน นำไฟมาติดไว้เรียบร้อย ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด [๑๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) เราเป็นผู้ไม่โกรธ ปราศจากกิเลสดุจตะปูตรึงใจ พักแรม ๑ ราตรี ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี เพิงที่พักคืออัตภาพ ก็ปราศจากหลังคาเครื่องมุงบัง กองไฟคือราคะเป็นต้นก็ดับหมดแล้ว ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด @เชิงอรรถ : @ นิวรณ์ หมายถึงธรรมเป็นเครื่องกั้นความดี มี ๕ ประการ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) @(๒) พยาบาท (ความคิดร้าย) (๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) @(๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (๕) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (ขุ.สุ.อ. ๑/๑๗/๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค]

๒. ธนิยสูตร

[๒๐] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้) ฝูงโคของข้าพเจ้าไม่มีเหลือบและยุงมารบกวน เที่ยวหากิน ณ ริมฝั่งแม่น้ำที่มีหญ้างอกงาม จึงสามารถทนฝนที่ตกลงมาได้ดี ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด [๒๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) เราผูกแพคืออริยมรรค ตกแต่งคือบำเพ็ญดีแล้ว กำจัดห้วงน้ำคือกิเลสได้แล้ว ข้ามไปจนถึงฝั่งแล้ว๑- จึงไม่มีความต้องการแพนั้นอีกต่อไป ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด [๒๒] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้) ภรรยาของข้าพเจ้าเป็นหญิงเชื่อฟัง ไม่โลเล๒- ครองรักร่วมกันมานานหลายปี เป็นที่ไว้วางใจของข้าพเจ้า ความชั่ว๓- ใดๆ ของนาง ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินเลย ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด [๒๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) จิตของเราเชื่อฟังเรา หลุดพ้นกิเลสแล้ว เราฝึกอบรมมานานจนเป็นจิตที่ฝึกหัดดีแล้ว ดังนั้น เราจึงไม่มีความชั่ว๔- ใดๆ ต่อไป ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด @เชิงอรรถ : @ ข้ามไปจนถึงฝั่ง หมายถึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๑/๓๓) @ โลเล หมายถึงความลุ่มหลง ความอยากของสตรี มี ๕ อย่าง (๑) โลเลในอาหาร (๒) โลเลในเครื่อง @ประดับ (๓) โลเลในบุรุษอื่น (๔) โลเลในทรัพย์ (๕) โลเลในการเที่ยวเตร่ (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๒/๓๓) @ ความชั่ว (บาป) ที่นายธนิยะกล่าวนั้นหมายถึงความประพฤตินอกใจ (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๒/๓๓) @ ความชั่ว ที่พระผู้มีพระภาคตรัสนั้นหมายถึงกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร และอาชีวะที่ไม่บริสุทธิ์ @(ขุ.สุ.อ. ๑/๒๓/๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค]

๒. ธนิยสูตร

[๒๔] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้) ข้าพเจ้าเป็นผู้ทำการงานของตนเองเลี้ยงชีวิต ทั้งบุตรธิดาของข้าพเจ้าก็พร้อมหน้า ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ความชั่ว๑- ใดๆ ของบุตรธิดาเหล่านั้น ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินเลย ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด [๒๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) เราไม่เป็นลูกจ้างใคร๒- เที่ยวไปด้วยความเป็นสัพพัญญู ผู้ไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง เราจึงไม่มีความต้องการด้วยค่าจ้างอีกต่อไป ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด [๒๖] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้) ในจำนวนฝูงโคของข้าพเจ้านี้ มีทั้งโครุ่นที่ยังไม่ได้ฝึก ลูกโคที่ยังดื่มนม แม่โคที่กำลังตั้งครรภ์ แม่โควัยเจริญพันธุ์ และโคสำคัญที่เป็นจ่าฝูง ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด [๒๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) ในจำนวนฝูงโคคือศาสนธรรมของเรานี้ ไม่มีทั้งโครุ่นที่ยังไม่ได้ฝึก๓- @เชิงอรรถ : @ ความชั่ว ของบุตรธิดาที่นายธนิยะกล่าวนั้น หมายถึงความเป็นโจร เป็นภรรยาของคนอื่น หรือเป็นผู้ทุศีล @(ขุ.สุ.อ. ๑/๒๔/๓๖) @ ไม่เป็นลูกจ้างใคร หมายถึงไม่เป็นทาสแห่งตัณหา (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๕/๓๖) @ โครุ่นที่ยังไม่ได้ฝึก ในที่นี้หมายถึงปริยุฏฐานกิเลส (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๗/๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค]

๒. ธนิยสูตร

ลูกโคที่ยังดื่มนม๑- แม่โคที่กำลังตั้งครรภ์๒- แม่โควัยเจริญพันธุ์๓- และโคสำคัญที่เป็นจ่าฝูง๔- ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด [๒๘] (นายธนิยะเจ้าของโคกล่าวดังนี้) ข้าพเจ้าปักเสาสำหรับล่ามโคไว้แน่นหนา ไม่โยกคลอน เชือกพิเศษสำหรับล่ามโคทั้งหลาย ก็ฝั้นด้วยหญ้าปล้องใหม่ๆ มีรูปทรงกะทัดรัดดี ถึงแม้โคหนุ่มๆ จะดิ้นดึง ก็ไม่สามารถทำให้ขาดได้เลย ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด [๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) เราได้ตัดเครื่องผูกทั้งหลาย เหมือนโคอุสภะสลัดเชือกที่ล่ามไว้จนขาดสะบั้น ทำลายเถาหัวด้วนเหมือนช้างทำลายเถาหัวด้วนจนแหลกละเอียด๕- จึงไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ฝนเอ๋ย หากท่านอยากตกก็เชิญตกลงมาเถิด [๓๐] (พระสังคีติกาจารย์กล่าวดังนี้) ทันใดนั่นเอง ฝนห่าใหญ่ได้ตกลงมา จนน้ำท่วมเต็มทั้งที่ลุ่มและที่ดอน นายธนิยะเจ้าของโคได้ยินเสียงฝนที่กำลังตกอยู่ ได้กราบทูลเนื้อความดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ลูกโคที่ยังดื่มนม ในที่นี้หมายถึงอนุสัยกิเลส (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๗/๓๗) @ แม่โคที่กำลังตั้งครรภ์ ในที่นี้หมายถึงปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร @(ขุ.สุ.อ. ๑/๒๗/๓๗) @ แม่โควัยเจริญพันธุ์ ในที่นี้หมายถึงตัณหา (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๗/๓๗) @ โคจ่าฝูง ในที่นี้หมายถึงอภิสังขารวิญญาณ (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๗/๓๗) @ พระองค์ทรงทำลายเถาหัวด้วน คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ด้วยโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค @และอนาคามิมรรค เหมือนช้างทำลายเถาหัวด้วน ทรงตัดเครื่องผูกคืออุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ @ด้วยอรหัตตมรรคเหมือนโคอุสภะสลัดเชือก (ขุ.สุ.อ. ๑/๒๙/๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค]

๒. ธนิยสูตร

[๓๑] เป็นลาภของพวกข้าพระองค์ไม่น้อยเลย ที่พวกข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ พวกข้าพระองค์ขอถึงพระองค์เป็นสรณะ ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์ทรงเป็นพระศาสดา ของพวกข้าพระองค์เถิด [๓๒] ข้าพระองค์และภรรยามีศรัทธาเชื่อฟังพระองค์ ขอประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระสุคต ข้าพระองค์ทั้งสองขอเป็นผู้ไปถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ จะเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ [๓๓] (มารผู้มีบาปกล่าวดังนี้) คนมีบุตรก็เพลิดเพลินบุตร เช่นเดียวกับคนมีโคก็เพลิดเพลินโค เพราะคนมีอุปธิ๑- เป็นเหตุเพลิดเพลิน คนที่ไม่มีอุปธิย่อมไม่เพลิดเพลินเลย [๓๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) คนมีบุตรก็เศร้าโศกเพราะบุตร เช่นเดียวกับคนมีโคก็เศร้าโศกเพราะโค เพราะคนมีอุปธิเป็นเหตุเศร้าโศก คนที่ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่เศร้าโศกเลย
ธนิยสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ อุปธิ หมายถึงกิเลสที่ทำให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสารมี ๔ อย่าง คือ (๑) กามูปธิ (อุปธิคือกาม) (๒) ขันธูปธิ @(อุปธิคือขันธ์) (๓) กิเลสูปธิ (อุปธิคือกิเลส) (๔) อภิสังขารูปธิ (อุปธิคืออภิสังขาร) (ขุ.สุ.อ. ๑/๓๓/๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๐๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๐๒-๕๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=229              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6895&Z=6970                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=295              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=295&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=28&A=616              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=295&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=28&A=616                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i294-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.1.02.than.html https://suttacentral.net/snp1.2/en/silacara https://suttacentral.net/snp1.2/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :