![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]
๙. กิงสีลสูตร
๙. กิงสีลสูตร ว่าด้วยการจะบรรลุประโยชน์สูงสุดต้องประพฤติเช่นไร [๓๒๗] (ท่านพระสารีบุตรทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้) นรชนมีปกติอย่างไร มีความประพฤติอย่างไร เพิ่มพูนการทำอะไรบ้าง จึงชื่อว่า พึงดำรงตนอยู่อย่างถูกต้อง และบรรลุประโยชน์สูงสุดได้ [๓๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) นรชนควรเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่๑- ไม่ริษยา และควรรู้จักกาลที่จะเข้าไปหาครูทั้งหลาย รู้จักขณะที่จะฟังธรรมีกถาที่ท่านกล่าว และตั้งใจฟังสุภาษิตอื่นๆ จากท่านโดยเคารพ [๓๒๙] ควรลดมานะ นบนอบอ่อนน้อม เข้าไปยังสำนักของครูตามเวลาเหมาะสม ตั้งใจระลึกถึงอรรถ ธรรม สังยมะ๒- พรหมจรรย์ พร้อมทั้งยึดถือปฏิบัติตามนั้น [๓๓๐] ควรเป็นผู้พอใจธรรม ยินดีในธรรม ดำรงอยู่ในธรรม รู้จักพิจารณาธรรม ไม่ควรกล่าววาจาที่ประทุษร้ายธรรม ควรให้เวลาสิ้นไปกับสุภาษิตที่แท้๓- @เชิงอรรถ : @๑ ผู้ใหญ่ มี ๔ คือ (๑) ปัญญาวุฒ ผู้ใหญ่โดยปัญญา (๒) คุณวุฒ ผู้ใหญ่โดยคุณความดี (๓) ชาติวุฒ ผู้ใหญ่ @โดยชาติ (เกิดในชาติกำเนิดฐานะอันสูง) (๔) วัยวุฒ ผู้ใหญ่โดยวัยคือเกิดก่อน ในที่นี้หมายถึงปัญญาวุฒ @(ขุ.สุ.อ. ๒/๓๒๘/๑๔๗) @๒ สังยมะ หมายถึงศีล (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๒๙/๑๔๘) @๓ สุภาษิตที่แท้ หมายถึงสุภาษิตที่ประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๐/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]
๙. กิงสีลสูตร
[๓๓๑] การละความสนุกรื่นเริง การพูดกระซิบ ความร่ำไรรำพัน ความโกรธง่าย การหลอกลวงเสแสร้งทำความดี ความยินดีในปัจจัย ความถือตัว การชิงดีชิงเด่น ความหยาบคาย และความหมกมุ่นอยู่ในกิเลสดุจน้ำฝาดย้อมใจ ควรเป็นผู้ปราศจากความมัวเมา ดำรงสติมั่นคงอยู่ [๓๓๒] นรชนใดเป็นผู้ประพฤติรีบด่วน๑- เป็นผู้ประมาท เพียงแต่รู้สุภาษิตอันเป็นสาระ และได้สดับสมาธิอันเป็นสาระในธรรมที่รู้เท่านั้น ปัญญาและสุตะย่อมไม่เจริญแก่นรชนนั้นเลย๒- [๓๓๓] ส่วนนรชนผู้ยินดีในธรรม๓- ที่พระอริยะประกาศแล้ว เป็นผู้ประเสริฐกว่าคนนอกนี้ ด้วยกาย วาจา และใจ ดำรงมั่นอยู่ในสันติ โสรัจจะ และสมาธิ๔- จึงได้บรรลุถึงธรรมอันเป็นสาระแห่งสุตะและปัญญากิงสีลสูตรที่ ๙ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ประพฤติรีบด่วน ในที่นี้หมายถึงไม่พิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ ตกไปในอำนาจกิเลสมีราคะเป็นต้น @(ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๒/๑๕๐) @๒ ความหมายในคาถานี้ คือ นรชนผู้ถูกราคะเป็นต้นครอบงำ ไม่พิจารณาไตร่ตรอง ประมาท ไม่บำเพ็ญ @เพียรอย่างต่อเนื่อง แม้จะได้รับโอวาท ฟังสุภาษิตมากมายก็ตาม แต่ปัญญาของเขาก็ไม่เจริญ เพราะไม่รู้ @ความหมาย และสุตะก็ไม่เจริญเพราะไม่มีการปฏิบัติตาม (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๒/๑๕๐) @๓ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสมถวิปัสสนา (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๓/๑๕๑) @๔ สันติ หมายถึงนิพพาน โสรัจจะ หมายถึงมัคคปัญญาอันมีนิพพานเป็นอารมณ์ สมาธิ หมายถึงมัคคสมาธิ @(ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๓/๑๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗๖}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๗๕-๕๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=248 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=8065&Z=8092 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=326 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=326&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=3288 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=326&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=3288 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i314-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.09.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.09.irel.html https://suttacentral.net/snp2.9/en/mills https://suttacentral.net/snp2.9/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]