![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๓. นาควรรค ๑. อัตตทันตวัตถุ
๒๓. นาควรรค หมวดว่าด้วยช้าง ๑. อัตตทันตวัตถุ เรื่องการฝึกตน (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระอานนท์ ดังนี้) [๓๒๐] เราจักอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกิน เหมือนพญาช้างในสงคราม อดทนลูกศรที่ตกจากแล่ง เพราะคนจำนวนมากเป็นผู้ทุศีล [๓๒๑] คนทั้งหลายนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาย่อมทรงราชพาหนะที่ฝึกแล้ว ในหมู่มนุษย์ คนที่อดกลั้นถ้อยคำล่วงเกินได้ ชื่อว่าเป็นผู้ฝึกตนได้แล้ว๑- เป็นผู้ประเสริฐที่สุด [๓๒๒] ม้าอัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ ช้างใหญ่ ที่ได้รับการฝึกหัดแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ แต่คนที่ฝึกตนได้แล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์พาหนะเหล่านั้น๒- @เชิงอรรถ : @๑ ฝึกตนได้แล้ว หมายถึงฝึกตนได้ด้วยอริยมรรค ๔ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค @และอรหัตตมรรค) (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๓๘) @๒ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๙๐/๒๘๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๘/๑๑๗-๑๑๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๓. นาควรรค ๔. ปเสนทิโกสลราชวัตถุ
๒. หัตถาจริยปุพพกภิกขุวัตถุ เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนายควาญช้าง (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้เคยเป็นนายควาญช้าง ดังนี้) [๓๒๓] แท้จริง บุคคลไม่สามารถไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป๑- ด้วยยานเหล่านี้ แต่บุคคลผู้ฝึกตนได้แล้ว สามารถไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ด้วยตนที่ฝึกแล้ว ที่ฝึกดีแล้ว๒-๓. ปริชิณณพราหมณปุตตวัตถุ เรื่องบุตรของพราหมณ์ชรา (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่บุตร ๔ คนของพราหมณ์ชรา ดังนี้) [๓๒๔] ช้างกุญชรชื่อธนปาลกะ ตกมันจัด ห้ามได้ยาก ถูกขังไว้ ไม่ยอมกินฟ่อนหญ้า เพราะระลึกถึงแต่นาควัน๓-๔. ปเสนทิโกสลราชวัตถุ เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เสวยพระกระยาหารมาก ดังนี้) [๓๒๕] เมื่อใด บุคคลผู้ถูกความง่วงเหงาครอบงำ บริโภคมาก ชอบแต่นอนกลิ้งเกลือกไปมา เมื่อนั้น เขาย่อมมีปัญญาเฉื่อยชา ชอบเข้าห้องเป็นอาจิณ เหมือนสุกรอ้วนที่เขาขุนด้วยเศษอาหาร ฉะนั้น๔- @เชิงอรรถ : @๑ ทิศที่ยังไม่เคยไป หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๓๙) @๒ ที่ชื่อว่า ฝึกแล้ว เพราะฝึกอินทรีย์ได้ในเบื้องต้น ที่ชื่อว่า ฝึกดีแล้ว เพราะอบรมตนได้ด้วยอริยมรรค @(ขุ.ธ.อ. ๗/๑๓๙-๑๔๐) @๓ นาควัน หมายถึงป่าช้าง เป็นที่อยู่ของช้างพังแม่ของช้างธนปาลกะ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๔๕-๑๔๖) @๔ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๗/๓๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๓. นาควรรค ๗. สัมพหุลภิกขุวัตถุ
๕. สานุสามเณรวัตถุ เรื่องสานุสามเณร (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่สานุสามเณร ดังนี้) [๓๒๖] แต่ก่อนจิตนี้ได้ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่างๆ ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย วันนี้ เราจะข่มจิตนั้นโดยอุบายอันแยบคาย เหมือนควาญช้างปราบพยศช้างตกมัน ฉะนั้น๑-๖. ปาเวรกหัตถิวัตถุ เรื่องช้างปาเวรกะ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๒๗] เธอทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม๒- เหมือนช้างกุญชรที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น๗. สัมพหุลภิกขุวัตถุ๓- เรื่องภิกษุหลายรูป (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๒๘] ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกัน เป็นสาธุวิหารี๔- เป็นนักปราชญ์ @เชิงอรรถ : @๑ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๗๗/๓๓๑, ๒๖/๑๑๓๓/๕๒๔ @๒ หล่ม ในที่นี้หมายถึงกิเลส (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๕๕) @๓ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๔/๓๕๕, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๗-๑๙/๓๐๓, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๑-๑๓๒/๔๓๓-๔๓๔ @๔ สาธุวิหารี หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยพรหมวิหารธรรม ๔ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ @(ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๑/๔๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๓. นาควรรค ๘. มารวัตถุ
ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด [๓๒๙] ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเถิด เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่ผู้เดียว และเหมือนช้างมาตังคะละทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น [๓๓๐] การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวเป็นความประเสริฐ เพราะคุณเครื่องความเป็นสหาย๑- ไม่มีในคนพาล อนึ่ง บุคคลควรมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปผู้เดียว ไม่พึงทำความชั่ว เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า ฉะนั้น๘. มารวัตถุ เรื่องมาร (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่มารผู้มีบาป ดังนี้) [๓๓๑] เมื่อมีกิจเกิดขึ้น สหายทั้งหลายนำสุขมาให้ ความยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้ ในเวลาสิ้นชีวิต บุญนำสุขมาให้ การละทุกข์ได้ทั้งหมด นำสุขมาให้ @เชิงอรรถ : @๑ คุณเครื่องความเป็นสหาย หมายถึงคุณธรรมเหล่านี้ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล กถาวัตถุ ๑๐ @ธุดงคคุณ ๑๓ วิปัสสนาญาณ มรรค ๔ ผล ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ อมตมหานิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๔. ตัณหาวรรค ๑. กปิลมัจฉวัตถุ
[๓๓๒] ในโลก การเกื้อกูลมารดา นำสุขมาให้ การเกื้อกูลบิดา นำสุขมาให้ การเกื้อกูลสมณะ นำสุขมาให้ การเกื้อกูลท่านผู้ประเสริฐ๑- ก็นำสุขมาให้ [๓๓๓] ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา๒- ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้ การได้ปัญญา นำสุขมาให้ การไม่ทำบาปทั้งหลาย ก็นำสุขมาให้นาควรรคที่ ๒๓ จบ ๒๔. ตัณหาวรรค หมวดว่าด้วยตัณหา ๑. กปิลมัจฉวัตถุ เรื่องปลากปิละ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่บริษัท ๔ ดังนี้) [๓๓๔] ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท๓- เหมือนเถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่า เขาย่อมเร่ร่อนไปมา เหมือนวานรที่ต้องการผลไม้ เที่ยวเร่ร่อนไปมาในป่า ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @๑ ท่านผู้ประเสริฐ หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกผู้ลอยบาปได้แล้ว @(ขุ.ธ.อ. ๗/๑๖๒) @๒ ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา หมายถึงศีล ๕ ศีล ๑๐ เป็นต้น ย่อมเป็นเครื่องประดับทำให้เกิดความงาม @และความสุขแก่คนทุกเพศทุกวัย ไม่มีล้าสมัยไร้ตำหนิ ต่างจากเครื่องประดับภายนอกที่ทำให้งามเฉพาะ @เพศหรือวัย ใครที่ใช้เครื่องประดับหรือเครื่องแต่งกายไม่เหมาะกับเพศหรือวัย ก็จะถูกตำหนิ และถูกสงสัยว่า @เป็นบ้าเสียสติ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๖๒) @๓ ผู้ประพฤติประมาท หมายถึงผู้มีความเป็นอยู่ด้วยความประมาท ปราศจากสติ ไม่เจริญฌาน วิปัสสนา @มรรค และผล (ขุ.ธ.อ. ๘/๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๗}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๓๓-๑๓๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=32 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=1118&Z=1161 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=33 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=33&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=24&A=2715 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=33&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=24&A=2715 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i033-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i033-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.23.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.23.budd.html https://suttacentral.net/dhp320-333/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp320-333/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp320-333/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]