![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๔. สามเณรปัญหา
๔. สามเณรปัญหา ว่าด้วยการถามปัญหากับโสปากสามเณร ๑. อะไรชื่อว่า หนึ่ง ที่ชื่อว่า หนึ่ง ได้แก่ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร๑- ๒. อะไรชื่อว่า สอง ที่ชื่อว่า สอง ได้แก่ นามและรูป ๓. อะไรชื่อว่า สาม ที่ชื่อว่า สาม ได้แก่ เวทนา ๓ ๒- ๔. อะไรชื่อว่า สี่ ที่ชื่อว่า สี่ ได้แก่ อริยสัจ ๔ ๕. อะไรชื่อว่า ห้า ที่ชื่อว่า ห้า ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ๓- ๖. อะไรชื่อว่า หก ที่ชื่อว่า หก ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ ๔- ๗. อะไรชื่อว่า เจ็ด ที่ชื่อว่า เจ็ด ได้แก่ โพชฌงค์ ๗ @เชิงอรรถ : @๑ อาหาร หมายถึงปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ดำรงชีพอยู่ได้ ได้แก่ อาหาร ๔ คือ (๑) กวฬิงการาหาร @(อาหารคือคำข้าว) (๒) ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) (๓) มโนสัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา) @(๔) วิญญาณาหาร(อาหารคือวิญญาณ) ยกเว้นอสัญญีสัตตพรหม ซึ่งมีฌานเป็นอาหาร (ขุ.ขุ.อ. ๔/๖๕, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๗/๓๓๖) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๓/๑๙๑, ๓๑๑/๒๐๓, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๗/๖๒, @ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๒๐๘/๓๔๕, ม.มู. (แปล) ๑๒/๙๐/๘๔ @๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๔, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๗๐/๓๐๓ @๓ ดู สํ.ข. (แปล) ๑๗/๔๘/๖๖-๖๗, อภิ.วิ (แปล) ๓๕/๑/๑-๒ @๔ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๕๔-๑๖๗/๑๑๒-๑๑๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๕. มงคลสูตร
๘. อะไรชื่อว่า แปด ที่ชื่อว่า แปด ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ ๙. อะไรชื่อว่า เก้า ที่ชื่อว่า เก้า ได้แก่ สัตตาวาส ๙ ๑- ๑๐. อะไรชื่อว่า สิบ ที่ชื่อว่า สิบ ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ ๒- เรียกว่า พระอรหันต์สามเณรปัญหา จบ ๕. มงคลสูตร ว่าด้วยมงคล [๑] ข้าพเจ้า๓- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๔- เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร๕- ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า @เชิงอรรถ : @๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๑/๒๓๒, ๓๕๙/๒๗๒ @๒ องค์คุณ ๑๐ ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ (๕) สัมมาอาชีวะ @(๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ (๙) สัมมาญาณะ (๑๐) สัมมาวิมุตติ (ขุ.ขุ.อ. ๔/๗๗) @๓ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้หมายถึง พระอานนท์ @๔ ราตรีผ่านไป ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม(ยามแรก) กำหนดเวลา ๔ ชั่วโมงตั้งแต่เวลา ๑๘ นาฬิกาถึง ๒๒ @นาฬิกาแห่งราตรีที่ผ่านไป กำลังอยู่ในช่วงมัชฌิมยาม(ยามกลาง) คือกำลังอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ ๒๒ นาฬิกา @ถึง ๒ นาฬิกาของวันใหม่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘, ขุ.ขุ.อ. ๕/๙๙) @๕ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการ คือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป @(๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕-๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=4 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=33&Z=40 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=4 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=4&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=17&A=1665 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=4&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=17&A=1665 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i001-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/khp/khp.1-9.than.html#khp-4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/khp/khp.1-9x.piya.html#khp-4 https://suttacentral.net/kp4/en/anandajoti https://suttacentral.net/kp4/en/piyadassi https://suttacentral.net/kp4/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]