ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๖. ตติยนานาติตถิยสูตร

๖. ตติยนานาติตถิยสูตร
ว่าด้วยลัทธิแตกต่างกัน สูตรที่ ๓
[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น สมณพราหมณ์และปริพาชกจำนวนมาก ผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความชอบใจ แตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลก ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลก ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลก ตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกเกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ ผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๖. ตติยนานาติตถิยสูตร

๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ไม่ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๑๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็ใช่ ไม่ยั่งยืนก็ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๑๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกจะว่ายั่งยืนก็มิใช่ จะว่าไม่ยั่งยืนก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๑๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๑๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๑๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการ และผู้อื่นเป็นตัวการนี้ เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๑๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ เกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ ผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า “อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้” ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๖. ตติยนานาติตถิยสูตร

พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส สมณพราหมณ์และ ปริพาชกจำนวนมากผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความชอบใจแตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลก ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลก ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลก ตนเองเป็นตัวการ และผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกเกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ ผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ไม่ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๖. ตติยนานาติตถิยสูตร

๑๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็ใช่ ไม่ยั่งยืนก็ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ จะว่ายั่งยืนก็มิใช่ จะว่าไม่ยังยืนก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการ และผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ เกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ ผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด ไม่มีจักษุ จึงไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม ก็เกิดการ บาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๖. ตติยนานาติตถิยสูตร

พุทธอุทาน
หมู่สัตว์นี้ คือพวกที่ถือทิฏฐิว่า เราเป็นตัวการ๑- พวกที่ถือทิฏฐิว่า ผู้อื่นเป็นตัวการ และสมณพราหมณ์พวกหนึ่งที่ไม่คล้อยตามทิฏฐิทั้งสองนี้๒- ไม่เห็นทิฏฐินั้นว่า ‘เป็นเหมือนลูกศร’ แต่สำหรับผู้ใช้ปัญญาพิจารณาจนรู้แจ้งว่า ทิฏฐินั้นเป็นเหมือนลูกศร ย่อมไม่มีทิฏฐิที่ว่า “เราสร้าง” ย่อมไม่มีทิฏฐิที่ว่า “ผู้อื่นสร้าง” หมู่สัตว์นี้มีมานะ ถูกมานะร้อยรัด ถูกมานะผูกพันไว้ ชอบกล่าวถกเถียงกันในเรื่องทิฏฐิ จึงไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏไปได้
ตติยนานาติตถิยสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ เราเป็นตัวการ แปลจากบาลีว่า ‘อหังการ’ ในที่นี้หมายถึงลัทธิสยังการหรือสยังกตา (ลัทธิสยังการหรือ @สยังกตานี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลัทธิอัตตการ) หมายถึงลัทธิที่เชื่อว่าตนเป็นตัวการคือเป็นผู้สร้างอัตตาและ @โลกขึ้นเอง (ขุ.อุ.อ. ๕๖/๓๗๑) @ หมายถึงพวกอธิจจสมุปปันนวาท คือลัทธิที่เชื่อว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นได้เอง มิได้อาศัยเหตุอะไร เป็นลัทธิ @ปฏิเสธทั้งลัทธิสยังการ และลัทธิปรังการ(ผู้อื่นเป็นตัวการ) พวกอธิจจสมุปปันนวาทนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า @อเหตุกวาท (ขุ.อุ.อ. ๕๕/๓๗๐, ๕๖/๓๗๑-๓๗๒) และดู สํ.นิ. ๑๖/๑๗/๑๙, สํ.นิ.อ. ๒/๑๗/๔๐ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๐๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๙๘-๓๐๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=91              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=3637&Z=3674                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=141              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=141&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=8312              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=141&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=8312                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.6.06.than.html https://suttacentral.net/ud6.6/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud6.6/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :