ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๘. คณิกาสูตร

๘. คณิกาสูตร
ว่าด้วยหญิงโสเภณี
[๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีนักเลง ๒ พวกมีจิตปฏิพัทธ์ยินดีใน หญิงโสเภณีคนหนึ่ง เกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ถึงขั้นชกต่อยกันบ้าง ใช้ก้อนดินขว้างกันบ้าง ใช้ท่อนไม้ตีกันบ้าง ใช้ศัสตราทำร้ายกันบ้าง นักเลงเหล่านั้น ถึงแก่ความตายในที่นั้นบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้าง ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระ- ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในกรุงราชคฤห์ มีนักเลง ๒ พวกมีจิตปฏิพัทธ์ยินดีในหญิงโสเภณีคนหนึ่งเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ถึงขั้นชกต่อยกันบ้าง ใช้ก้อนดินขว้างกันบ้าง ใช้ท่อนไม้ตีกันบ้าง ใช้ศัสตราทำร้ายกันบ้าง นักเลงเหล่านั้นถึงแก่ความตายในที่นั้นบ้าง ได้รับทุกข์ ปางตายบ้าง พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว๑- จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ คำว่า “ทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว” นี้หมายถึงทรงทราบว่าความกำหนัดติดใจในกามทั้งหลายเป็นมูล @เหตุแห่งความพินาศทั้งหลายทั้งปวง จึงทรงเปล่งอุทานเพื่อแสดงให้เห็นโทษในข้อปฏิบัติที่สุดโต่งทั้ง ๒ ประการ @(คือกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค) และเพื่อแสดงให้เห็นอานิสงส์แห่งข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง @(มัชฌิมาปฏิปทา) (ขุ.อุ.อ. ๕๘/๓๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๘. คณิกาสูตร

พุทธอุทาน
สิ่งที่บุคคลได้รับอยู่และสิ่งที่บุคคลยังหวังที่จะได้รับต่อไป๑- สิ่งทั้งสองนั้นเจือด้วยธุลีคือราคะเป็นต้นแก่ผู้ทุรนทุรายใฝ่ใจอยากได้รับอยู่ สมณพราหมณ์ผู้มีสิกขาอันเป็นสาระ คือศีล วัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงอันเป็นสาระ๒- นี้เป็นส่วนสุดที่ ๑ สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ‘โทษในกามไม่มี’ นี้เป็นส่วนสุดที่ ๒ ส่วนสุดทั้งสองนี้ มีแต่จะเพิ่มตัณหาและอวิชชาให้มากขึ้น ตัณหาและอวิชชาย่อมก่อให้เกิดความเห็นผิดมากขึ้น สมณพราหมณ์ทั้งหลายไม่รู้ส่วนสุดทั้งสองนั้น บางพวกก็จมติดอยู่ บางพวกก็แล่นไป๓- ส่วนพระอริยะทั้งหลายได้รู้แจ้งส่วนสุดทั้งสองนั้น จึงไม่ตกไปในส่วนสุดทั้งสองนั้น และเพราะละส่วนสุดทั้งสองนั้นได้ จึงไม่สำคัญตนด้วยตัณหา ทิฏฐิ และมานะ ย่อมไม่มีวัฏฏะปรากฏ๔-
คณิกาสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ สิ่งที่บุคคลได้รับอยู่ มีความหมาย ๒ นัย คือ (๑) หมายถึงกามคุณ ๕ ประการ ที่บุคคลเสวยด้วยความ @ยึดมั่นว่า โทษในกามคุณ ๕ ไม่มี (กามสุขัลลิกานุโยค) (๒) หมายถึงการทำตนให้เดือดร้อนด้วยการ @ประพฤติวัตรอย่างนักบวชเปลือย(อัตตกิลมถานุโยค) สิ่งที่บุคคลยังหวังที่จะได้รับต่อไป มีความหมาย @๒ นัย เช่นเดียวกัน คือ (๑) หมายถึงกามคุณ ๕ ที่บุคคลมุ่งหวังที่จะได้รับด้วยความเชื่อว่าเมื่อได้รับแล้ว @ถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่(กามสุขัลลิกานุโยค) (๒) หมายถึงผลที่จะพึงได้รับในอบาย เพราะการทำกรรมตาม @ความเห็นผิดเป็นเหตุ(อัตตกิลมถานุโยค) (ขุ.อุ.อ. ๕๘/๓๗๕-๓๗๗) @ ในที่นี้ ศีล หมายถึงข้อที่บุคคลงดเว้น ไม่ทำ วัตร หมายถึงการประพฤติอย่างลำบาก ชีวิต หมายถึงการ @ดำเนินชีวิตอย่างฝืดเคือง เช่น การเป็นอยู่ด้วยการบริโภคผักเป็นอาหาร พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ @การบำบวง หมายถึงการบนบานเซ่นสรวงบูชา (ขุ.อุ.อ. ๕๘/๓๗๖) @ ข้อความตอนนี้มีความหมาย ๓ นัย คือ นัยที่ ๑ หมายถึงบางพวกจมติดอยู่ในกามสุข(กามสุขัลลิกานุโยค) @บางพวกแล่นไป คือ มุ่งประกอบตนให้ลำบาก(อัตตกิลมถานุโยค) นัยที่ ๒ หมายถึงบางพวกติดอยู่ด้วย @อำนาจตัณหา บางพวกแล่นไปในอำนาจทิฏฐิ นัยที่ ๓ หมายถึงบางพวกติดอยู่ในสัสสตทิฏฐิ บางพวกแล่นไป @ในอำนาจอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.อุ.อ. ๕๘/๓๗๘) @ วัฏฏะ ในที่นี้หมายถึงกิเลส กรรม วิบาก (ขุ.อุ.อ. ๕๘/๓๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๐๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๐๔-๓๐๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=93              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=3689&Z=3719                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=144              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=144&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=8402              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=144&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=8402                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.6.08.than.html https://suttacentral.net/ud6.8/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud6.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :