ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๕. กุมารเปตวัตถุ
เรื่องกุมารเปรต
(เมื่อจะประกาศเรื่องของกุมารเปรตนั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าว ๗ คาถาว่า) [๔๕๓] พระญาณของพระสุคต น่าอัศจรรย์ โดยที่พระศาสดาทรงพยากรณ์บุคคลได้อย่างถูกต้องว่า บุคคลบางเหล่าในโลกนี้ มีบุญมากก็มี บางเหล่ามีบุญน้อยก็มี [๔๕๔] คหบดีผู้นี้เมื่อยังเป็นเด็ก ถูกเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นอยู่ด้วยน้ำนมที่ไหลออกจากนิ้วมือตลอดราตรี ยักษ์และภูตผีปีศาจ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ก็ไม่เบียดเบียนเด็กผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้ว [๔๕๕] แม้สุนัขทั้งหลายก็พากันมาเลียเท้าทั้งสองของเด็กนั้น ฝูงเหยี่ยวและสุนัขจิ้งจอกก็พากันวนเวียนรักษา ฝูงนกก็พากันคาบรกไปทิ้ง ส่วนฝูงกาพากันคาบขี้ตาออกไป [๔๕๖] มนุษย์และอมนุษย์ไรๆ มิได้จัดการรักษาเด็กนี้ หรือใครๆ ที่จะปรุงยาหรือทำการบำบัดด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดมิได้มี และมิได้ถือเอาการประกอบฤกษ์ยาม ทั้งไม่ได้โปรยธัญชาติทั้งปวง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค]

๕. กุมารเปตวัตถุ

[๔๕๗] เด็กที่บุคคลนำมาทิ้งไว้ในป่าช้าในยามราตรี ได้รับความลำบากอย่างยิ่งเช่นนี้ สั่นเทาอยู่ เป็นดุจก้อนเนยข้น ยังเหลืออยู่เพียงชีวิต มีความสงสัยว่า (ตัวจะรอดหรือไม่รอดหนอ) [๔๕๘] พระผู้มีพระภาคผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ทรงมีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ครั้นแล้วได้ทรงพยากรณ์เด็กนั้นว่า เด็กคนนี้จักเป็นผู้มีสกุลสูง๑- สำหรับนครนี้ (อุบาสกซึ่งอยู่ในที่ใกล้พระศาสดาทูลถามว่า) [๔๕๙] ข้อปฏิบัติของเขาเป็นอย่างไร พรหมจรรย์ของเขาเป็นอย่างไร เขาประพฤติข้อปฏิบัติและพรหมจรรย์อย่างไร จึงมีวิบากอย่างนี้ เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้วจึงกลับมาเสวยความสำเร็จเช่นนั้นๆ (พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะแสดงคำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาค จึงกล่าว ๔ คาถาว่า) [๔๖๐] เมื่อก่อน หมู่ชนได้ทำการบูชาพระสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานอย่างโอฬาร เด็กนั้นได้มีความคิดเห็นในการบูชานั้นเป็นอย่างอื่นไป เขาได้กล่าววาจาหยาบคาย ซึ่งมิใช่ของสัตบุรุษ [๔๖๑] ภายหลังเขาบรรเทาความคิดนั้นแล้ว กลับได้ปีติและความเลื่อมใส ได้บำรุงพระตถาคต ซึ่งประทับอยู่ที่พระเชตวัน ด้วยข้าวต้ม ๗ วัน [๔๖๒] ข้อนั้นเป็นข้อปฏิบัติและพรหมจรรย์ของเขา เขาประพฤติเช่นนั้น จึงมีวิบากอย่างนี้ เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้วจักกลับได้เสวยความสำเร็จเช่นนั้น @เชิงอรรถ : @ จักได้เป็นเศรษฐีมีโภคสมบัติมาก (ขุ.เป.อ. ๔๕๘/๒๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค]

๖. เสริณีเปติวัตถุ

[๔๖๓] เขาอยู่ในมนุษยโลกนี้แหละเป็นเวลาร้อยปี เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทุกอย่าง หลังจากตายไป จักเข้าถึงความเป็นสหายของท้าววาสวะ๑- ในสัมปรายภพ
กุมารเปตวัตถุที่ ๕ จบ
๖. เสริณีเปติวัตถุ
เรื่องนางเสริณีเปรต
(อุบาสกคนหนึ่งถามนางเสริณีเปรตว่า) [๔๖๔] นางผู้มีร่างกายซูบผอม มีแต่ซี่โครงปรากฏ เธอเปลือยกาย มีผิวพรรณและรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว ซูบผอม มีร่างกายสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เธอเป็นใครเล่ามายืนอยู่ที่นี้ (นางเสริณีเปรตตอบว่า) [๔๖๕] ท่านผู้เจริญ ดิฉันเกิดเป็นเปรตในยมโลก ได้รับความลำบาก เพราะทำกรรมชั่วไว้จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก (อุบาสกถามว่า) [๔๖๖] เมื่อก่อนเธอได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ เพราะผลกรรมอะไรเธอจึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก (นางเสริณีเปรตตอบว่า) [๔๖๗] เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เป็นดุจท่าน้ำซึ่งไม่มีใครหวงห้ามมีอยู่ ดิฉันเก็บทรัพย์ไว้ประมาณกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรมมีอยู่ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน @เชิงอรรถ : @ ไปเกิดเป็นลูกของท้าวสักกะจอมเทพชั้นดาวดึงส์ (ขุ.เป.อ. ๔๖๓/๒๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๒๔๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๒๓๙-๒๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=115              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=4153&Z=4185                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=115              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=115&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=31&A=4540              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=115&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=31&A=4540                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :