ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๗. โคตมเถรคาถา
ภาษิตของพระโคดมเถระ
(พระโคดมเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า) [๕๘๗] บุคคลพึงรู้จักประโยชน์ของตน ๑ พึงตรวจดูปาพจน์๑- ๑ พึงตรวจตราสิ่งที่สมควรในศาสนานี้ ของกุลบุตรผู้เข้าถึงความเป็นสมณะ ๑ @เชิงอรรถ : @ ธรรมและวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว (ขุ.เถร.อ. ๒/๕๘๗/๒๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต]

๗. โคตมเถรคาถา

[๕๘๘] มิตรดี ๑ การสมาทานสิกขาให้บริบูรณ์ ๑ การเชื่อฟังครูทั้งหลาย ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะในศาสนานี้ [๕๘๙] ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๑ ความนอบน้อมในพระธรรมตามความเป็นจริง ๑ การทำความยำเกรงในพระสงฆ์ ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ [๕๙๐] ภิกษุผู้ประกอบในอาจาระและโคจร ๑ ผู้ชำระอาชีพให้บริสุทธิ์ ซึ่งท่านผู้รู้ไม่ตำหนิติเตียน ๑ การตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ [๕๙๑] จาริตศีล ๑ วาริตศีล ๑ การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถที่น่าเลื่อมใส ๑ การประกอบเนืองๆ ในอธิจิต ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ [๕๙๒] เสนาสนะป่า ๑ ที่สงัด ๑ ที่เงียบ ๑ ที่มุนีอยู่อาศัย ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ [๕๙๓] จตุปาริสุทธิศีล ๑ พาหุสัจจะ ๑ การพิจารณาค้นคว้าธรรมตามความเป็นจริง ๑ การรู้แจ้งอริยสัจ ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ [๕๙๔] ข้อที่บุคคลพึงเจริญอนิจจสัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๑ เจริญอนัตตสัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ๑ เจริญอสุภสัญญา ๑ เจริญอนภิรติสัญญาในโลก ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ [๕๙๕] ข้อที่บุคคลพึงเจริญโพชฌงค์ ๑ อิทธิบาท ๑ อินทรีย์ ๑ พละ ๑ อริยัฏฐังคิกมรรค ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต]

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต

[๕๙๖] พระมุนีพึงละตัณหา ๑ ทำลายอาสวะพร้อมทั้งรากเหง้า ๑ พึงอยู่อย่างผู้มีจิตหลุดพ้น ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
ทสกนิบาต จบ
รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระกาฬุทายีเถระ ๒. พระเอกวิหาริยเถระ ๓. พระมหากัปปินเถระ ๔. พระจูฬปันถกเถระ ๕. พระกัปปเถระ ๖. พระวังคันตปุตตอุปเสนเถระ ๗. พระโคตมเถระ ในทสกนิบาตนี้ มีพระเถระ ๗ รูปนี้ และมี ๗๐ คาถา ฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๔๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๔๐-๔๔๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=376              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=7059&Z=7087                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=376              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=376&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=5312              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=376&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=5312                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag10.7/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :