ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๒. วิมลาเถรีคาถา
ภาษิตของพระวิมลาเถรี
พระวิมลาเถรีผู้เคยเป็นหญิงคณิกา๑- (ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า) [๗๒] เรามัวเมาด้วยผิวพรรณ รูปสมบัติ ความสวยงาม บริวารยศ และเป็นผู้มีจิตกระด้างอย่างยิ่ง ด้วยความเป็นสาว ดูหมิ่นหญิงอื่น @เชิงอรรถ : @ หญิงแพศยา หรือหญิงโสเภณี (ขุ.เถรี.อ. ๗๒/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๕. ปัญจกนิบาต]

๓. สีหาเถรีคาถา

[๗๓] ประดับร่างกายนี้ให้วิจิตรงดงามสำหรับลวงชายโง่ ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนหญิงแพศยา ดุจนายพรานเนื้อวางบ่วงดักเนื้อไว้ [๗๔] เราอวดเครื่องประดับต่างๆ เป็นอันมาก และอวดอวัยวะที่ควรปกปิดให้ปรากฏ กระซิกกระซี้ ได้ทำมายาหลายอย่างให้ชายจำนวนมากลุ่มหลง [๗๕] วันนี้ เรานั้นปลงผมห่มผ้าสังฆาฏิ บวช เที่ยวบิณฑบาต แล้วมานั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ได้ฌานที่ไม่มีวิตก๑- [๗๖] ได้ตัดกิเลสเป็นเหตุเกาะเกี่ยว ทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์ได้ทั้งหมด ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เป็นผู้เย็น ดับสนิทแล้ว
๓. สีหาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสีหาเถรี
พระสีหาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า) [๗๗] เมื่อก่อน เราได้ถูกกามราคะเบียดเบียน มีจิตฟุ้งซ่าน บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เพราะไม่ทำไว้ในใจโดยแยบคาย [๗๘] ถูกกิเลสกลุ้มรุม มักเข้าใจกามว่าสวยงาม ตกอยู่ในอำนาจราคะ จึงไม่ได้ความสงบจิต [๗๙] ผอมเหลือง และมีผิวพรรณไม่ผ่องใส ประพฤติ(พรหมจรรย์)อยู่ ๗ ปี มีแต่ทุกข์ ไม่ได้ความสุขทั้งกลางวันและกลางคืน @เชิงอรรถ : @ ได้บรรลุทุติยฌาน (ขุ.เถรี.อ. ๗๕/๑๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๖๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๕๖๗-๕๖๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=440              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=9152&Z=9162                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=440              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=440&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=34&A=2089              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=440&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=34&A=2089                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/ati/tipitaka/kn/thig/thig.05.02.than.html https://suttacentral.net/thig5.2/en/sujato https://suttacentral.net/thig5.2/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :