บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน]
๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
๓. ฉัตตมาณวกวิมาน ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่ฉัตตมาณพผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงแสดงวิธีถึงสรณคมน์แก่ฉัตตมาณพจึงตรัสว่า) [๘๘๖] บรรดาผู้กล่าวสอนในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นพระศากยมุนี จำแนกพระธรรม สำเร็จกิจที่จะต้องทำแล้ว ถึงฝั่งพระนิพพาน พรั่งพร้อมด้วยพละและวีริยะ เธอจงถึงผู้นั้นผู้เป็นพระสุคตเพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด [๘๘๗] เธอจงถึงพระธรรมอันเป็นเหตุสำรอกราคะ มีสภาวะไม่หวั่นไหว ไร้ความเศร้าโศก เป็นสภาวธรรมที่ปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง ปราศจากสิ่งแปดเปื้อน น่าปรารถนา ละเอียดอ่อน ซึ่งพระตถาคตทรงจำแนกไว้แจ่มแจ้งแล้วนี้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด [๘๘๘] บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงทานที่ถวายในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก ท่านเหล่านั้น คือพระอริยบุคคลผู้บริสุทธิ์ ๔ คู่ ๘ ท่าน ผู้เห็นประจักษ์ในธรรม เธอจงถึงพระอริยสงฆ์นี้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด (พระผู้มีพระภาคตรัสถามเทพบุตรนั้นว่า) [๘๘๙] ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวฤกษ์ผุสสะในท้องฟ้า ยังสว่างไสวไม่เทียบเท่าวิมานของเธอซึ่งสว่างไสวมาก หาสิ่งเปรียบเทียบมิได้นี้ เธอเป็นใครหนอ จากเทวโลกชั้นดาวดึงส์มายังแผ่นดิน [๘๙๐] วิมานของเธอนั้นมีรัศมีตัดแสงอาทิตย์แผ่ไปเกิน ๒๐ โยชน์ และทำกลางคืนให้เป็นเสมือนกลางวัน วิมานของเธองามบริสุทธิ์ผุดผ่อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๑๐๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน]
๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๘๙๑] มีดอกปทุมมาก มีดอกบุณฑริกงดงาม เกลื่อนกลาดด้วยดอกไม้นานาชนิด งามไม่น้อย คลุมไว้ด้วยตาข่ายทองอันบริสุทธิ์ ปราศจากธุลี ส่องสว่างอยู่ในอากาศเหมือนดวงอาทิตย์ [๘๙๒] วิมานของเธอเนืองแน่นด้วยเหล่าเทพอัปสร ผู้ทรงผ้ากำพลสีแดงและสีเหลือง หอมตลบด้วยกลิ่นกฤษณา ดอกประยงค์และแก่นจันทน์ มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ ประหนึ่งท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาว [๘๙๓] เทพบุตรและเทพธิดาจำนวนมากในวิมานนี้ มีรูปร่างลักษณะต่างๆ กัน มีจิตใจเบิกบาน ทรงทิพยอาภรณ์ ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์ คลุมด้วยกรองทอง ห่มด้วยอาภรณ์ทอง โชยกลิ่นหอมฟุ้งไปตามลม [๘๙๔] นี้เป็นผลแห่งกรรมอันใดเล่า เพราะผลกรรมอะไรเล่า เธอจึงมาเกิดในวิมานนี้ อนึ่ง ตถาคตถามแล้ว ขอเธอจงบอกถึงวิธีที่เธอได้วิมานนี้ตามสมควรแก่เหตุนั้นเถิด (เทพบุตรกราบทูลว่า) [๘๙๕] พระศาสดาเสด็จมาพบฉัตตมาณพในทางนี้ เมื่อจะทรงอนุเคราะห์ จึงได้ทรงพร่ำสอน มาณพนั้นฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็นรัตนะอย่างประเสริฐแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักทำตามพระดำรัสที่ทรงพร่ำสอน [๘๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ยังไม่ได้ถึงพระชินะผู้ประเสริฐ พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ทรงพร่ำสอนนั่นแล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๑๐๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน]
๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๘๙๗] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า เธออย่าได้ประพฤติตนเป็นคนฆ่าสัตว์ โดยวิธีต่างๆ อันเป็นกรรมไม่สะอาด เพราะท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญ ความไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลายเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล [๘๙๘] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า เธออย่าสำคัญสิ่งของ แม้ที่คนอื่นดูแลรักษาไว้ที่เขามิได้ให้ว่าเป็นของควรถือเอา๑- ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล [๘๙๙] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า เธออย่าได้ล่วงละเมิดหญิงที่คนอื่นรักษา๒- และภรรยาของชายอื่น๓- นั่นเป็นสิ่งไม่ประเสริฐ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล [๙๐๐] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า เธออย่าได้พูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เพราะท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ไม่สรรเสริญการกล่าวเท็จ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล @เชิงอรรถ : @๑ โดยอาการลักขโมย @๒ หญิงที่บิดามารดาเป็นต้นยังไม่ยินยอมยกให้ @๓ เป็นชู้กับภรรรยาชายอื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๑๐๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน]
๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๙๐๑] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า เธอจงงดเว้นของมึนเมาทุกชนิด อันเป็นเหตุทำให้ความจำของคนเสื่อม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล [๙๐๒] ข้าพระองค์นั้นได้รักษาสิกขาบท ๕ ๑- ในพระศาสนานี้ ปฏิบัติธรรมของพระตถาคต ได้ไปยังทางสองแพร่งกลางชุมโจร พวกโจรเหล่านั้นได้ฆ่าข้าพระองค์ ณ ที่นั้น เพราะโภคะเป็นเหตุ [๙๐๓] ข้าพระองค์ระลึกถึงกุศลกรรมมีประมาณเท่านี้นี่เอง กุศลกรรมอื่นนอกจากนั้นของข้าพระองค์ไม่มี เพราะสุจริตกรรมนั้น ข้าพระองค์จึงเกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ พรั่งพร้อมด้วยกามคุณตามปรารถนา [๙๐๔] ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตร ผลของการสำรวมเพียงชั่วครู่ชั่วยาม ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คนเป็นอันมากผู้มีกรรมต่ำต้อย๒- พากันมองดู นึกกระหยิ่ม(ชื่นชม) ข้าพระองค์ เหมือนบุคคลพากันมองดูผู้รุ่งเรืองด้วยบริวารยศ [๙๐๕] ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรเถิด ข้าพระองค์ถึงสุคติ และได้รับความสุข เพราะพระธรรมเพียงเล็กน้อย ส่วนเหล่าชนที่ได้ฟังธรรมของพระองค์เนืองๆ เห็นทีจะสัมผัสอมตธรรมซึ่งมีความเกษม @เชิงอรรถ : @๑ ศีล ๕ (ขุ.วิ.อ. ๙๐๒/๒๗๗) @๒ มีโภคะด้อยกว่าสมบัติของข้าพระองค์ (ขุ.วิ.อ. ๙๐๔/๒๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๑๐๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน]
๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๙๐๖] บุญกุศลที่ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในพระธรรมคำสอนของพระตถาคต ทำแล้วแม้น้อยกลับมีผลยิ่งใหญ่ไพบูลย์ ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรดูเถิด เพราะได้ทำบุญไว้ ฉัตตเทพบุตรจึงเปล่งรัศมี สว่างไสวไปทั่วแผ่นดิน เหมือนดวงอาทิตย์ [๙๐๗] ชนจำพวกหนึ่งประชุมปรึกษากันว่า กุศลนี้เป็นอย่างไร พวกเราจะบำเพ็ญกุศลนั้นอย่างไร พวกเรานั้นได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว พึงปฏิบัติธรรม อยู่รักษาศีลกันอีกเถิด [๙๐๘] พระศาสดาทรงมีอุปการะมาก และทรงอนุเคราะห์ข้าพระองค์อย่างนี้ ในเมื่อข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่ ได้เสด็จไปแต่ยังวันอยู่เลย ข้าพระองค์นั้นได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ทรงมีพระนามเป็นสัจธรรม ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์เถิด ข้าพระองค์ขอฟังธรรมซ้ำอีก [๙๐๙] ชนเหล่าใดในพระศาสนานี้ละกามราคานุสัย และภวราคานุสัย๑- ได้เพราะละโมหะได้ขาด ชนเหล่านั้นแลย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีกต่อไป เพราะว่าเป็นผู้ถึงความดับอย่างสิ้นเชิงเย็นสนิทแล้ว๒-ฉัตตมาณวกวิมานที่ ๓ จบ @เชิงอรรถ : @๑ กามราคานุสัย กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในส้นดาน คือ ความกำหนัดในกาม ภวราคานุสัย กิเลสที่นอน @เนื่องอยู่ในสันดาน คือ ความกำหนัดในภพ อยากมี อยากเป็น อยากคงอยู่ @๒ ปรินิพพาน (ขุ.วิ.อ. ๙๐๙/๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๑๐๙}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๑๐๕-๑๐๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=53 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=1903&Z=1989 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=53 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=53&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=30&A=5567 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=53&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=30&A=5567 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vv53/en/kiribathgoda
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]