ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๙. ติรีฏวัจฉชาดก (๒๕๙)
ว่าด้วยติรีฏวัจฉดาบส
(อุปราชเข้าไปเฝ้าพระราชาถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า) [๒๕] กรรมอะไรๆ ที่สำเร็จด้วยวิชาของดาบสนี้ไม่มีเลย อนึ่ง ดาบสนี้เป็นพระญาติ เป็นพระสหายของพระองค์ก็หามิได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ติรีฏวัจฉดาบสผู้มีปกติถือไม้ ๓ ท่อน๑- เที่ยวไป จึงบริโภคโภชนะมีรสเลิศเล่า (พระราชาทรงสรรเสริญคุณของติรีฏวัจฉดาบสโพธิสัตว์ว่า) [๒๖] เมื่อพ่อแพ้ในการรบ ตกอยู่ในอันตรายแต่ผู้เดียว ดาบสนั้นได้ทำการอนุเคราะห์ ยื่นมือช่วยเหลือ พ่อผู้ตกยากอยู่ในป่าใหญ่อันทารุณ เพราะการช่วยเหลือนั้น พ่อผู้กำลังเผชิญทุกข์อยู่ก็ขึ้นจากบ่อน้ำได้ @เชิงอรรถ : @ ไม้ ๓ ท่อน ในที่นี้หมายถึงไม้ที่จะนำไปทำขาตั้งหม้อน้ำหรือคนโทน้ำ (ขุ.ชา.อ. ๔/๒๕/๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๑๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต]

๑. สังกัปปวรรค ๑๐. ทูตชาดก (๒๖๐)

[๒๗] พ่อผู้ดำรงอยู่ในมนุษยโลกนี้ กำลังตกอยู่ในวิสัยของพญามัจจุราช มาถึงสถานที่นี้ได้ เพราะการช่วยเหลืออันแสนยากของดาบสนั้น ลูกเอ๋ย ติรีฏวัจฉดาบสเป็นผู้สมควรแก่ลาภ๑- พวกเจ้าจงถวายปัจจัยที่ควรบริโภค จงบูชาด้วยปัจจัยที่ควรบูชาแก่ท่านเถิด
ติรีฏวัจฉชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. ทูตชาดก (๒๖๐)
ว่าด้วยทุกชีวิตเป็นทูตของท้อง
(บุรุษโลเลคนหนึ่งได้เห็นวิธีเสวยพระกระยาหารของพระเจ้าโภชนสุทธิกโพธิสัตว์ ตกอยู่ในอำนาจของความอยาก จึงกล่าว ๒ คาถาทูลว่า) [๒๘] สัตว์ทั้งหลายที่ตกอยู่ในอำนาจของตัณหาไปยังสถานที่ไกล เพื่อจะขอแม้กับคนที่เป็นศัตรูเพื่อประโยชน์แก่ท้องใด ข้าพระองค์เป็นทูตของท้องนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธข้าพระองค์เลย [๒๙] มนุษย์ทั้งหลายตกอยู่ในอำนาจของท้องใดทั้งกลางวันกลางคืน ข้าพระองค์เป็นทูตของท้องนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพรถ ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธข้าพระองค์เลย (พระราชาได้สดับคำของบุรุษนั้นแล้ว จึงตรัสว่า) [๓๐] พ่อพราหมณ์ เราจะให้โคแดงสัก ๑,๐๐๐ ตัว พร้อมกับโคจ่าฝูงแก่ท่าน เพราะทูตจะไม่ให้แก่ทูตได้อย่างไร แม้เราก็เป็นทูตของท้องนั้นเหมือนกัน
ทูตชาดกที่ ๑๐ จบ
สังกัปปวรรคที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ลาภ ในที่นี้หมายถึงการได้ปัจจัย ๔ (ขุ.ชา.อ. ๔/๒๕/๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๑๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต]

๒. ปทุมวรรค ๑. ปทุมชาดก (๒๖๑)

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สังกัปปราคชาดก ๒. ติลมุฏฐิชาดก ๓. มณิกัณฐชาดก ๔. กุณฑกกุจฉิสินธวชาดก ๕. สุกชาดก ๖. ชรูทปานชาดก ๗. คามณิจันทชาดก ๘. มันธาตุราชชาดก ๙. ติรีฏวัจฉชาดก ๑๐. ทูตชาดก


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๑๒๕-๑๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=259              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=2075&Z=2089                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=376              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=376&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=38&A=1073              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=376&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=38&A=1073                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja259/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :