ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๕. จูฬกุณาลวรรค
หมวดว่าด้วยนกกุณาละหมวดสั้น
๑. กุณฑลิกชาดก (๓๔๑)
ว่าด้วยกุณฑลิกราชา
(ในเรื่องที่พญานกกุณาละพูดกับนกปุณณมุขะนี้มีคาถาประพันธ์ไว้อีกส่วนหนึ่งว่า) [๑๖๑] บรรดาพวกผู้หญิงที่ทำความรื่นรมย์ให้แก่พวกผู้ชาย เป็นคนหลายใจ ไม่มีใครจะบังคับได้ แม้ถ้าว่าพวกนางจะพึงทำให้เกิดความพอใจในที่ทั้งปวง ก็ไม่ควรไว้ใจ เพราะว่าพวกผู้หญิงเปรียบเสมือนท่าน้ำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต]

๕. จูฬกุณาลวรรค ๒. วานรชาดก (๓๔๒)

(พญานกกุณาละเกิดเป็นปัญจาลจัณฑปุโรหิต นำเหตุที่ตนได้เห็นมาแสดงว่า) [๑๖๒] บัณฑิตเห็นเหตุคลายความกำหนัดของพญากินนร และพญากินนรีแล้ว พึงทราบเถิดว่า ผู้หญิงทั้งปวงไม่ยินดีในเรือนของสามี เหมือนภรรยาได้ทอดทิ้งสามีคู่ชีวิตเช่นนั้นไป เพราะพบชายอื่นแม้เป็นคนง่อยเปลี้ย (พญานกกุณฑลิกะเกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต เมื่อจะแสดงเรื่องที่ตนได้ทราบ มาแล้ว จึงกล่าวว่า) [๑๖๓] พระมเหสีของพระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรี ผู้หมกมุ่นอยู่ในกามมากเกินไป ได้เป็นชู้กับมหาดเล็กคนสนิทของพระนาง มีหรือผู้หญิงทั้งหลายจะไม่พึงเป็นชู้กับชายอื่น (พญานกกุณฑลิกะเกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต เมื่อจะแสดงเรื่องที่ตนเห็นมาเอง จึงกล่าวว่า) [๑๖๔] พระนางปิงคิยานี อัครมเหสีผู้เป็นที่รัก ของพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่แห่งโลกทั้งมวล ได้เป็นชู้กับคนเลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิดพระนาง พระนางเป็นผู้มักมากในกาม มิได้ประสบผลแม้ทั้ง ๒ อย่าง๑-
กุณฑลิกชาดกที่ ๑ จบ
๒. วานรชาดก (๓๔๒)
ว่าด้วยวานรโพธิสัตว์
(วานรโพธิสัตว์ได้กล่าวกับจระเข้ว่า) [๑๖๕] ข้าพเจ้าสามารถขึ้นจากน้ำมาบนบกได้ จระเข้ บัดนี้ข้าพเจ้าไม่ตกอยู่ในอำนาจของท่านอีกต่อไป @เชิงอรรถ : @ คือ ไม่ได้พบคนเลี้ยงม้าและไม่ได้ครองตำแหน่งอัครมเหสี (ขุ.ชา.อ. ๘/๓๑๓/๓๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๑๙๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=341              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=3185&Z=3201                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=662              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=662&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=38&A=8158              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=662&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=38&A=8158                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja341/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :