ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๔. สุมังคลชาดก (๔๒๐)
ว่าด้วยนายสุมังคละ
(พระราชาตรัสกับอำมาตย์ว่า) [๒๗] ผู้เป็นใหญ่รู้ตัวว่าเรากำลังโกรธจัดก็อย่าเพิ่งลงโทษ เพราะผู้ลงโทษอันไม่เหมาะสมแก่ตนโดยขาดเหตุผลแล้ว จะพึงก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นอย่างมากมาย [๒๘] เมื่อใดผู้เป็นใหญ่รู้สึกว่าตนมีจิตผ่องใส พึงพิจารณาคดีที่คนอื่นทำผิด เมื่อพิจารณาด้วยตนเองว่า คดีเป็นอย่างนี้ๆ เมื่อนั้นพึงลงโทษตามความเหมาะสมแก่เขา [๒๙] ส่วนผู้ใดไม่ลำเอียง พิจารณาความเหมาะสมและไม่เหมาะสม ผู้นั้นชื่อว่าไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง ผู้เป็นใหญ่คนใดในโลกนี้ลงโทษตามสมควร ผู้นั้นย่อมมีคุณงามความดีคุ้มครอง ไม่เสื่อมจากสิริ [๓๐] กษัตริย์เหล่าใดทรงลำเอียง ไม่ทรงพิจารณาก่อนกระทำ ทรงรีบลงพระอาชญา กษัตริย์เหล่านั้นมีโทษอันน่าติเตียน สวรรคตพ้นจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่ทุคติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต]

กัจจานิวรรค ๔. สุมังคลชาดก (๔๒๐)

[๓๑] กษัตริย์เหล่าใดทรงยินดีในธรรมที่อริยชนประกาศไว้แล้ว กษัตริย์เหล่านั้นนับว่าทรงยอดเยี่ยม ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม กษัตริย์เหล่านั้นทรงดำรงมั่นอยู่ในธรรม คือ ขันติ โสรัจจะ และสมาธิ ทรงไปสู่โลกทั้ง ๒ โดยวิธีเช่นนั้น [๓๒] เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าชายและหญิง ถึงแม้เราจะโกรธก็จะหักห้ามความโกรธได้ ดำรงตนไว้อย่างนั้นต่อชุมชน จะอนุเคราะห์ลงอาชญาโดยธรรม (นายสุมังคละกล่าวสดุดีพระราชาว่า) [๓๓] ขอเดชะพระบรมกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่แห่งหมู่ชน ขอพระสิริสมบัติอย่าได้ละพระองค์ในกาลไหนๆ เลย ขอพระองค์อย่าทรงกริ้ว มีพระราชหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ปราศจากความทุกข์ รักษาพระองค์อยู่ตลอด ๑๐๐ ปีเถิด [๓๔] ขอเดชะพระบรมกษัตริย์ ขอพระองค์จงทรงประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือ ทรงมีพระอริยวัตรอันมั่นคง ทรงรับอนุสาสนีโดยง่าย ไม่ทรงกริ้ว ทรงพระสำราญ ปกครองแผ่นดินโดยปราศจากการเบียดเบียน อนึ่ง พระองค์แม้เสด็จพ้นจากโลกนี้ไปแล้ว ขอจงเสด็จสู่สุคติเถิด [๓๕] พระธรรมิกราชาธิราชเมื่อทรงปกครองโดยกุศโลบาย อันชอบธรรม ด้วยเหตุที่เหมาะสม ด้วยคำอันเป็นสุภาษิต พึงทำมหาชนผู้มีความกระวนกระวายให้เย็นใจ ดุจมหาเมฆยังเมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำด้วยน้ำ
สุมังคลชาดกที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๙๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๒๘๙-๒๙๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=420              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=4874&Z=4909                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1146              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1146&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=5683              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1146&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=5683                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja420/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :