ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส๑-
ว่าด้วยปัญหาของกัปปมาณพ
[๖๑] (ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์ ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมีแก่ข้าพระองค์อีก (๑)
ว่าด้วยสังสารวัฏ
คำว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ อธิบายว่า สงสาร ตรัสเรียกว่า สระ คือ การมา๒- การไป๓- การไปและการมา ความตาย คติ๔- ภพน้อยภพใหญ่ จุติ อุปบัติ๕- ความเกิด ความดับ ชาติ ชรา มรณะ ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ ปรากฏ ที่สุดเบื้องปลายก็ไม่ปรากฏ เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร คือ วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๙๙-๑๑๐๒/๕๔๔ @ การมา ในที่นี้หมายถึงการมาจากเบื้องต้นและที่สุด (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖) @ การไป ในที่นี้หมายถึงการไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖) @ คติ ในที่นี้หมายถึงการบังเกิด (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖) @ อุปบัติ ในที่นี้หมายถึงการเกิดขึ้นต่อจากการเคลื่อน (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วพันชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วโกฏิชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วพันโกฏิชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนโกฏิชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นร้อยปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วพันปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

วัฏฏะเป็นไปแล้วพันโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วพันกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วพันโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ มีเบื้องต้น และเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน ท่องเที่ยวไป ภิกษุทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

เหล่าสัตว์เสวยทุกข์ เสวยความยากลำบาก เสวยความพินาศ เต็มป่าช้า๑- เป็นเวลา ยาวนานอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ จึงควรเบื่อหน่าย ควร คลายกำหนัด ควรหลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง ฉะนั้น๒- ที่สุดเบื้องต้น แห่งสงสาร จึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร คือ วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้ บ้าง วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นร้อยชาติเท่านี้ ฯลฯ พันชาติเท่านี้ ฯลฯ แสนชาติเท่านี้ ฯลฯ โกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ พันโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ แสนโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ ปีเท่านี้ ฯลฯ ร้อยปีเท่านี้ ฯลฯ พันปีเท่านี้ ฯลฯ แสนปีเท่านี้ ฯลฯ โกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิปีเท่านี้ฯลฯ พันโกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ แสนโกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ กัปเท่านี้ ฯลฯ ร้อยกัปเท่านี้ ฯลฯ พันกัปเท่านี้ ฯลฯ แสนกัปเท่านี้ ฯลฯ โกฏิกัปเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ฯลฯ พันโกฏิกัปเท่านี้ ฯลฯ แสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องปลาย แห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง ที่สุดทั้งเบื้องต้นทั้งเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ เหล่าสัตว์ผู้ ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วใน สงสารอันเป็นท่ามกลาง รวมความว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง @เชิงอรรถ : @ เต็มป่าช้า ในที่นี้หมายถึงซากศพของเหล่าสัตว์ที่ตายแล้ว มีมากมาย ทับถมกันอยู่ในป่าช้า หรือเต็ม @แผ่นดิน (สํ.นิ.อ. ๒/๑๒๔/๑๗๖, ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖) @ สํ.นิ. ๑๖/๑๒๔/๑๗๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า กัปปะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๑- รวมความว่า ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้ คำว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย อธิบายว่า ในขณะห้วงน้ำคือกาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือทิฏฐิ ห้วงน้ำคืออวิชชา เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏ คำว่า อันเป็นมหันตภัย ได้แก่ ชาติภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชาติ) ชราภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชรา) พยาธิภัย (ภัยที่เกิดเพราะความเจ็บป่วย) มรณภัย (ภัยที่เกิดเพราะมรณะ) รวมความว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย คำว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ อธิบายว่า ผู้ถูกชราถูกต้อง ครอบงำ คือ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ผู้ถูกมรณะจับต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ได้แก่ ผู้ไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศที่พึ่ง คือ ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง คติ จุดหมาย คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดย ความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและ ความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ที่พึ่ง คำว่า พระองค์ ในคำว่า อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง ... แก่ ข้าพระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศที่พึ่ง คือ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่ระลึก คติ จุดหมาย รวมความว่า อนึ่ง ขอพระองค์ โปรดตรัสบอกที่พึ่ง ... แก่ข้าพระองค์ คำว่า โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมี...อีก อธิบายว่า โดยวิธีที่ทุกข์นี้พึงดับ คือ พึงเข้าไปสงบ พึงถึงความสิ้นสุด ระงับในชาตินี้เอง คือ ทุกข์อันมีในปฏิสนธิ ไม่พึง บังเกิดอีก ได้แก่ ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดขึ้น ในกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ คติใหม่ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะ คือ พึงดับ เข้าไปสงบ ถึงความสิ้นสุด ระงับในชาตินี้แหละ รวมความว่า โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมี...อีก ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์ ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมีแก่ข้าพระองค์อีก [๖๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัปปะ) กัปปะ เราจะบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์ ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัยแก่เธอ (๒) คำว่า ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ อธิบายว่า สงสาร ตรัสเรียกว่า สระ คือ การมา การไป การไปและการมา ความตาย คติ ภพน้อยภพใหญ่ จุติ อุปบัติ ความเกิด ความดับ ชาติ ชรา มรณะ ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ ที่สุด เบื้องปลายก็ไม่ปรากฏ เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติด แน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร ฯลฯ ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร ฯลฯ ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง ที่สุดทั้งเบื้องต้นทั้งเบื้อง ปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ แม้อย่างนี้ เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง รวมความว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ คำว่า กัปปะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กัปปะ เป็นคำที่พระผู้มี พระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัปปะ คำว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย อธิบายว่า ในขณะห้วงน้ำคือ กาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือทิฏฐิ ห้วงน้ำคืออวิชชา เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏ คำว่า อันเป็นมหันตภัย ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย รวมความว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย คำว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ อธิบายว่า ผู้ถูกชราถูกต้อง ครอบงำ คือ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ผู้ถูกมรณะจับต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ได้แก่ ผู้ไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า เราจะบอกที่พึ่ง... แก่เธอ อธิบายว่า เราจะบอก คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศที่พึ่ง คือ ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง คติ จุดหมาย คำว่า กัปปะ ในคำว่า กัปปะ... แก่เธอ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก พราหมณ์นั้นโดยชื่อ รวมความว่า เราจะบอกที่พึ่ง... แก่เธอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสตอบว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัปปะ) กัปปะ เราจะบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์ ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัยแก่เธอ [๖๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) เราเรียกนิพพาน ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ไม่มีเครื่องยึดมั่นนี้นั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า (เพราะ)นิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช (๓) คำว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ในคำว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ไม่มีเครื่องยึดมั่น ได้แก่ เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวล คือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต การละ เครื่องกังวล การเข้าไปสงบเครื่องกังวล การสลัดทิ้งเครื่องกังวล การระงับเครื่อง กังวลได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล คำว่า ไม่มีเครื่องยึดมั่น อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า เครื่องยึดมั่น ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- การละเครื่องยึดมั่น การเข้าไปสงบเครื่องยึดมั่น การสลัดทิ้งเครื่องยึดมั่น การระงับเครื่องยึดมั่นได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ไม่มี เครื่องยึดมั่น @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า นั้นว่าเป็นที่พึ่งนั้นอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า อธิบายว่า นี้เป็นที่พึ่ง ที่ ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง เป็นคติ เป็นจุดหมาย คำว่า อันไม่มีที่พึ่งอื่น อธิบายว่า ที่พึ่งอื่น คือ อย่างอื่นจากนิพพานนั้น ไม่มี โดยที่แท้ ธรรมนั้น เป็นที่พึ่งอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม อย่างนี้ รวมความว่า นั้นว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า คำว่า เราเรียกนิพพาน ... นั้น อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า วานะ (เครื่อง เสียบแทง) ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ การละวานะ การเข้าไปสงบวานะ การสลัดทิ้งวานะ การระงับวานะได้ เป็น อมตนิพพาน คำว่า ว่า เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบท หลังเข้าด้วยกัน คำว่า เรียก ได้แก่ พูด คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า เราเรียกนิพพาน ... นั้น คำว่า เป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช อธิบายว่า การละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง การระงับชราและมรณะได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้น ไปแห่งชราและมรณะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า เราเรียกนิพพาน ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ไม่มีเครื่องยึดมั่นนี้นั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า (เพราะ)นิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช [๖๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร ไม่ไปบำรุงมาร (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า นั้น ในคำว่า ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้นแล้ว อธิบายว่า อมตนิพพาน คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น พระผู้มี- พระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ รวมความว่า ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว คำว่า เห็นธรรม ในคำว่า เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ผู้เห็นธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม คำว่า ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำ ให้ราคะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โทสะดับแล้ว ชื่อว่าดับ กิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โมหะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ ทำให้โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทดับแล้ว รวมความว่า เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว คำว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร อธิบายว่า คำว่า มาร ได้แก่ มาร ผู้มีกรรมดำ คือ ผู้ยิ่งใหญ่ พาไปสู่ความตาย ไม่ให้สัตว์หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท คำว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร อธิบายว่า ชนเหล่านั้นไม่ไป ตามอำนาจมาร ทั้งมารก็ไม่เป็นไปในอำนาจชนเหล่านั้น ชนเหล่านั้นข่มขี่ ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีมาร คือ ฝักฝ่ายแห่งมาร บ่วงมาร เบ็ดมาร เหยื่อมาร วิสัยมาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส

ที่อยู่ของมาร โคจรของมาร เครื่องผูกแห่งมาร เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตาม อำนาจมาร คำว่า ไม่ไปบำรุงมาร อธิบายว่า ชนเหล่านั้น ไม่บำรุง ไม่เที่ยวบำรุง ไม่บำเรอ ไม่รับใช้มาร ชนเหล่านั้นบำรุง เที่ยวบำรุง บำเรอ รับใช้แต่พระผู้มี- พระภาคพุทธเจ้า รวมความว่า ไม่ไปบำรุงมาร ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร ไม่ไปบำรุงมาร พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ กัปปมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
กัปปมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๒๓๔-๒๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=30&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=3379&Z=3558                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=366              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=366&items=22              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=879              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=366&items=22              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=879                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-10.htm



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :