บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
๔๓. ปเทสวิหารญาณนิทเทส แสดงปเทสวิหารญาณ [๙๔] ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ เป็นอย่างไร คือ เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะความสงบไปแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะความสงบไปแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะความสงบไปแห่งสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะฉันทะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะความสงบไปแห่งฉันทะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะวิตกเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๕๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]
๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
เพราะความสงบไปแห่งวิตกเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะความสงบไปแห่งสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบไป แต่วิตกและสัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะฉันทะและวิตกเป็นธรรมสงบไป แต่สัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี อาสวะ๑- เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุมีอยู่ แต่เพราะยังไม่ได้บรรลุฐานะนั้น เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณปเทสวิหารญาณนิทเทสที่ ๔๓ จบ ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส แสดงญาณในการหลีกออก ๖ อย่าง [๙๕] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร คือ ปัญญาที่มีเนกขัมมะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วยสัญญา (ความหมายรู้) เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอพยาบาทเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอาโลกสัญญา เป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรม @เชิงอรรถ : @๑ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงวิริยะ (ความเพียร) (ขุ.ป.อ. ๑/๙๔/๓๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๕๕}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๕๔-๑๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=46 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2677&Z=2699 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=245 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=245&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7732 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=245&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7732 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]