บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]
๑๐. มาติกากถา
๑๐. มาติกากถา ว่าด้วยหัวข้อธรรม [๔๐] ผู้ไม่มีความหิว โมกข์ วิโมกข์ วิชชาวิมุตติ อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา ปัสสัทธิ ญาณ ทัสสนะ วิสุทธิ เนกขัมมะ เครื่องสลัด ความสงัด ความสละ ความประพฤติ ฌานวิโมกข์ ภาวนา อธิษฐาน ชีวิต (๑๙) [๔๑] คำว่า ผู้ไม่มีความหิว อธิบายว่า ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจาก กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิวย่อมหลุดพ้นจากนิวรณ์ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค (๑) คำว่า โมกข์ วิโมกข์ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะ เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้น จากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌาน ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นจากกิเลสทั้งปวง (๒) คำว่า วิชชาวิมุตติ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติเพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุด พ้นก็ย่อมรู้ อพยาบาท ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติเพราะหลุดพ้นจากพยาบาท ชื่อว่าวิชชาวิมุตติเพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้ ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติเพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ เพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้ (๓) คำว่า อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะ มีความหมายว่ากั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตต- สิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา อพยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมี ความหมายว่ากั้นพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]
๑๐. มาติกากถา
หมายว่ากั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและ ความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา (๔-๖) คำว่า ปัสสัทธิ อธิบายว่า พระโยคาวจรระงับกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ระงับพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ระงับกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค (๗) คำว่า ญาณ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละ กามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละกิเลสทั้งปวง (๘) คำว่า ทัสสนะ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละ กามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละพยาบาท ฯลฯ อรหัตต- มรรค ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละกิเลสทั้งปวง (๙) คำว่า วิสุทธิ อธิบายว่า บุคคลเมื่อละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมหมดจดด้วยอพยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อม หมดจดด้วยอรหัตตมรรค (๑๐) คำว่า เนกขัมมะ อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกาม อรูปเป็นเครื่อง สลัดรูป นิโรธเป็นเนกขัมมะแห่งสิ่งที่มีที่เป็น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ที่อาศัยกันเกิดขึ้น อพยาบาทเป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท อาโลกสัญญาเป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเนกขัมมะแห่งกิเลสทั้งปวง (๑๑) คำว่า เครื่องสลัด อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกาม อรูปเป็น เครื่องสลัดรูป นิโรธเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ที่อาศัยกัน เกิดขึ้น เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ อพยาบาทเป็นเครื่องสลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง (๑๒) คำว่า ความสงัด อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นความสงัดของกามฉันทะ อพยาบาทเป็นความสงัดของพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นความสงัดของกิเลส ทั้งปวง (๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]
๑๐. มาติกากถา
คำว่า ความสละ อธิบายว่า พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าความสละ สละพยาบาทด้วยอพยาบาท เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าความสละ ฯลฯ สละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึง ชื่อว่าความสละ (๑๔) คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า พระโยคาวจรประพฤติละกามฉันทะด้วย เนกขัมมะ ประพฤติละพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ประพฤติละกิเลสทั้งปวงด้วย อรหัตตมรรค (๑๕) คำว่า ฌานวิโมกข์ อธิบายว่า เนกขัมมะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ฌาน เนกขัมมะย่อมเผากามฉันทะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคล เมื่อเผาย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม เขาย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและ กิเลสที่ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ อพยาบาทย่อม เผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อพยาบาทย่อมเผาพยาบาทให้ไหม้ เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ อาโลกสัญญาย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ฌาน อาโลกสัญญาย่อมเผาถีนมิทธะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ อรหัตตมรรคย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อรหัตตมรรคย่อมเผากิเลส ทั้งปวงให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน พระอรหันต์เมื่อเผาย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม เขา ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ (๑๖) [๔๒] คำว่า ภาวนา อธิษฐาน ชีวิต อธิบายว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะย่อม เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่ใช่เป็นอยู่ไม่สงบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]
๑๐. มาติกากถา
เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด เป็นอยู่หมดจด เป็นอยู่ไม่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่บริษัทใด คือ ขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัท ก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึง พร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น บุคคลละพยาบาท เจริญอพยาบาท เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย ภาวนา ฯลฯ ละถีนมิทธะ เจริญอาโลกสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม ด้วยภาวนา ฯลฯ ละอุทธัจจะ เจริญอวิกเขปะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย ภาวนา ฯลฯ ละวิจิกิจฉา เจริญธัมมววัตถาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม ด้วยภาวนา ฯลฯ ละอวิชชา เจริญวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย ภาวนา ฯลฯ ละอรติ เจริญปามุชชะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ฯลฯ ละนิวรณ์ เจริญปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง เจริญอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา บุคคลย่อมตั้งจิตมั่นด้วยอำนาจอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม ด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็น อยู่สงบ ไม่ใช่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด เป็นอยู่ ไม่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่บริษัทใด คือ ขัตติย- บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อม องอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล (๓-๑๙)มาติกากถา จบ ปัญญาวรรคที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๐๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
รวมกถาที่มีอยู่ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามรรค
รวมกถาที่มีอยู่ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามรรคนี้ คือ ๑. มหาวรรค ๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. อินทริยกถา ๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา ๗. กัมมกถา ๘. วิปัลลาสกถา ๙. มัคคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา๒. ยุคนัทธวรรค ๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา ๓. โพชฌังคกถา ๔. เมตตากถา ๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. ธัมมจักกกถา ๘. โลกุตตรกถา ๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา๓. ปัญญาวรรค ๑. มหาปัญญากถา ๒. อิทธิกถา ๓. อภิสมยกถา ๔. วิเวกกถา ๕. จริยากถา ๖. ปาฏิหาริยกถา ๗. สมสีสกถา ๘. สติปัฏฐานกถา ๙. วิปัสสนากถา ๑๐. มาติกากถา ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามี ๓ วรรค มีอรรถกว้างลึกในมรรคอันเป็นอนันตนัย เปรียบด้วยสาคร เหมือนนภากาศที่ดารดาษด้วยดวงดาวและเช่นกับสระใหญ่ ให้ ความสว่างเจิดจ้าแห่งญาณแก่พระโยคีผู้เป็นธรรมกถิกาจารย์อย่างกว้างขวางฉะนี้แลปฏิสัมภิทามรรค จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๑๐}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๖๐๖-๖๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=89 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10975&Z=17913 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=737 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=737&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=8378 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=737&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=8378 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]