ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑๒. มหาปริวารวรรค]

๑๐. ชาติปูชกเถราปทาน

๑๐. ชาติปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระชาติปูชกเถระ
(พระชาติปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๘๒] เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์ประสูติ ได้มีแสงสว่างเจิดจ้า แผ่นดินพร้อมทั้งสมุทรสาครและภูเขาก็ไหวแล้ว [๘๓] อนึ่ง พวกโหราจารย์พยากรณ์ว่า ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก จักเป็นผู้เลิศกว่าสรรพสัตว์ จักรื้อถอนหมู่ชน [๘๔] ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพวกโหราจารย์แล้ว ได้ทำการบูชาพระชาติกำเนิด๑- ด้วยความดำริว่า การบูชาเช่นกับการบูชาพระชาติกำเนิดไม่มี [๘๕] ข้าพเจ้าสร้างกุศลแล้ว จึงทำจิตของตนให้เลื่อมใส ครั้นทำการบูชาพระชาติกำเนิดแล้ว ก็สิ้นชีวิตลง ณ ที่นั้น [๘๖] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใดๆ คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม ในกำเนิดนั้นๆ ข้าพเจ้าเป็นใหญ่เหนือสรรพสัตว์ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระชาติกำเนิด [๘๗] แม่นมทั้งหลายย่อมบำรุงข้าพเจ้า อยู่ในอำนาจจิตของข้าพเจ้า แม่นมเหล่านั้นไม่อาจเพื่อทำข้าพเจ้าให้โกรธเคือง นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระชาติกำเนิด [๘๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป ข้าพเจ้าได้ทำการบูชาไว้ในครั้งนั้น @เชิงอรรถ : @ พระชาติกำเนิด หมายถึงพระชาติของพระพุทธเจ้า (ขุ.อป.อ. ๒/๘๔/๑๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑๒. มหาปริวารวรรค]

รวมอปทานที่มีในวรรค

จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระชาติกำเนิด [๘๙] ในกัปที่ ๓ นับจากกัปนี้ไป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ชาติ พระนามว่าสุปาริจริยะ เป็นใหญ่ในหมู่ชน มีพลานุภาพมาก [๙๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระชาติปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ชาติปูชกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
มหาปริวารวรรคที่ ๑๒ จบบริบูรณ์
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหาปริวารเถราปทาน ๒. สุมังคลเถราปทาน ๓. สรณคมนิยเถราปทาน ๔. เอกาสนิยเถราปทาน ๕. สุวัณณปุปผิยเถราปทาน ๖. จิตกปูชกเถราปทาน ๗. พุทธสัญญกเถราปทาน ๘. มัคคสัญญกเถราปทาน ๙. ปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทาน ๑๐. ชาติปูชกเถราปทาน ท่านกล่าวรวมคาถาไว้ ๙๐ คาถา ฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๒๗๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๒๗๔-๒๗๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=122              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=3649&Z=3678                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=122              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=32&item=122&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=3547              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=32&item=122&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=3547                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap122/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :