ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๓. เถราปทาน ๓. มหากัสสปเถราปทาน

๓. มหากัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัสสปเถระ
(พระมหากัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๓๙๘] ประชาชนพากันทำการบูชาพระผู้มีพระภาค ผู้ศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่ ในเมื่อพระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว [๓๙๙] หมู่ชนมีจิตร่าเริง บันเทิงเบิกบาน ทำการบูชา เมื่อหมู่ชนนั้นเกิดความสังเวช แต่ข้าพเจ้าเกิดความปีติยินดี [๔๐๐] ข้าพเจ้าได้เชิญญาติมิตรมาประชุมกันแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีความเพียรมากได้ปรินิพพานแล้ว ขอเชิญพวกเรามาทำการบูชาเถิด [๔๐๑] ญาติมิตรของข้าพเจ้าเหล่านั้นรับคำแล้ว ก็ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความร่าเริงเป็นอย่างยิ่งว่า พวกเราจักทำการสั่งสมบุญ ในพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก [๔๐๒] ข้าพเจ้าได้ช่วยกันสร้างอัคฆิยเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่สร้างอย่างดี สูง ๑๐๐ ศอก กว้าง ๑๕๐ ศอก เป็นดังวิมานสูงเสียดฟ้า สั่งสมบุญไว้แล้ว [๔๐๓] ข้าพเจ้าครั้นสร้างอัคฆิยเจดีย์ ซึ่งงดงามด้วยแนวแห่งต้นตาล ไว้ใกล้สถานที่ที่ทำการบูชาเจดีย์นั้นแล้ว ทำจิตของตนให้เลื่อมใส บูชาเจดีย์อันสูงสุด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๓. เถราปทาน ๓. มหากัสสปเถราปทาน

[๔๐๔] พระเจดีย์นั้นรุ่งเรืองอยู่(ด้วยรัตนะทั้ง ๗) ดุจกองไฟลุกโพลงอยู่ ส่องสว่างทั่วทั้ง ๔ ทิศ ดุจต้นพญาไม้สาละออกดอกบานสะพรั่ง และดุจสายรุ้งในอากาศ [๔๐๕] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในห้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้น สร้างกุศลเป็นอันมากแล้วระลึกถึงบุพกรรมแล้ว จึงไปเกิดยังสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ [๔๐๖] ข้าพเจ้าอธิษฐานยานทิพย์เทียมด้วยม้าสินธพ ๑,๐๐๐ ตัว วิมานของข้าพเจ้า สูงตระหง่าน ๗ ชั้น [๔๐๗] (ในวิมานนั้น) มีเรือนยอด ๑,๐๐๐ หลัง ทำด้วยทองคำล้วน รุ่งเรืองด้วยเดชของตน ส่องสว่างทั่วทุกทิศ [๔๐๘] ครั้งนั้น มีศาลาหน้ามุขทำด้วยแก้วทับทิมแม้เหล่าอื่นอยู่ ศาลาหน้ามุขแม้เหล่านั้นมีรัศมีโชติช่วงรอบๆ ทั้ง ๔ ทิศ [๔๐๙] เรือนยอดซึ่งเกิดขึ้นด้วยบุญกรรม ที่บุญกรรมเนรมิตไว้อย่างดี ทำด้วยแก้วมณี โชติช่วงโดยรอบทั่วทุกทิศ [๔๑๐] แสงสว่างแห่งเรือนยอดซึ่งโชติช่วงอยู่เหล่านั้นได้สว่างเจิดจ้า ข้าพเจ้าปกครองเทวดาทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม [๔๑๑] ในกัปที่ ๖๐,๐๐๐ (นับแต่กัปนี้ไป) ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์นามว่าอุพพิทธะ มีชัยชนะ มีทวีปทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ครองแผ่นดิน [๔๑๒] ในภัทรกัปก็อย่างนั้นเหมือนกัน ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีพลานุภาพมาก ยินดีพอใจในกรรมของตน๑- ถึง ๓๐ ชาติ @เชิงอรรถ : @ กรรมของตน ในที่นี้หมายถึงทศพิธราชธรรม ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ๑๐ ประการ คือ ทาน (การ @ให้สิ่งของ) ศีล (ประพฤติดีงาม) ปริจจาคะ (ความเสียสละ) อาชชวะ (ความซื่อตรง) มัททวะ (ความอ่อนโยน) @ตบะ (ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ) อักโกธะ (ความไม่โกรธ) อวิหิงสา (ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน) @ขันติ (ความอดทน) อวิโรธนะ (ความไม่คลาดธรรม) (ขุ.อป.อ. ๑/๔๑๒-๔๑๓/๓๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๓. เถราปทาน ๓. มหากัสสปเถราปทาน

[๔๑๓] ข้าพเจ้าเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ ในคราวเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น ปราสาทของข้าพเจ้าสูงตระหง่านดังสายรุ้ง [๔๑๔] ปราสาทนั้นยาว ๒๔ โยชน์ กว้าง ๑๒ โยชน์ มีกรุงชื่อว่ารัมมกะ มีกำแพงและค่ายมั่นคง [๔๑๕] นครนั้น มีกำแพงและค่ายยาว ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ มีหมู่ชนพลุกพล่านขวักไขว่ ดังเมืองสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ [๔๑๖] เข็ม ๒๕ เล่มที่ใส่ไว้ในกล่องเข็มแล้ว ย่อมกระทบกันและกัน เบียดเสียดกันเป็นนิตย์ ฉันใด [๔๑๗] แม้กรุงของข้าพเจ้าก็ฉันนั้น พลุกพล่านขวักไขว่ไปด้วยช้าง ม้า และรถ มีมนุษย์ ขวักไขว่น่ารื่นรมย์ เป็นกรุงอันอุดม [๔๑๘] ข้าพเจ้า ดื่ม กิน อยู่ในกรุงนั้น แล้วกลับไปเกิดเป็นเทวดาอีก ในภพสุดท้าย กุศลสมบัติได้มีแก่ข้าพเจ้า [๔๑๙] ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์ สะสมรัตนะไว้เป็นอันมาก สละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ แล้วออกบวช [๔๒๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัสสปเถราปทานที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๖๒-๖๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=718&Z=756                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=5              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=32&item=5&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=49&A=7562              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=32&item=5&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=49&A=7562                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap5/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :