ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๙. วนวัจฉเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวนวัจฉเถระ
(พระวนวัจฉเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๒๕๑] ในภัทรกัปนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว [๒๕๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประพฤติพรหมจรรย์จนตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว [๒๕๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๒๕๔] จุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้ว ได้เกิดเป็นนกพิราบอยู่ในป่า ในป่านั้นมีภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ยินดีในฌานทุกเมื่อ อาศัยอยู่ [๒๕๕] ท่านเป็นผู้มีจิตเมตตา ประกอบด้วยกรุณา มีหน้าอิ่มเอิบทุกเมื่อ มีจิตวางเฉย มีความเพียรมาก ฉลาดในอัปปมัญญา๑- @เชิงอรรถ : @ อัปปมัญญา หมายถึงจิตที่ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งแผ่ไปโดยไม่มีขอบเขต @ไม่มีประมาณ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๘/๒๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค]

๙. วนวัจฉเถราปทาน

[๒๕๖] มีความดำริปราศจากนิวรณ์๑- มีอัธยาศัยมุ่งประโยชน์แก่สรรพสัตว์ โดยไม่นาน ข้าพเจ้าก็มีความคุ้นเคยในสาวกของพระสุคตองค์นั้น [๒๕๗] เมื่อข้าพเจ้าไปเกาะอยู่แทบเท้าของท่าน ผู้นั่งอยู่ในอาศรม ในครั้งนั้น บางครั้งท่านก็ให้อาหาร บางครั้งท่านก็แสดงธรรม [๒๕๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเข้าไปหาท่านผู้เป็นโอรสของพระชินเจ้า ด้วยความรักอันไพบูลย์ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในสวรรค์ประหนึ่งจากที่อยู่ แล้วกลับไปยังที่อยู่ของตนฉะนั้น [๒๕๙] ข้าพเจ้าจุติจากสวรรค์แล้ว บังเกิดในหมู่มนุษย์ด้วยบุญกรรม ได้สละเรือนออกบวชโดยมาก [๒๖๐] ข้าพเจ้าเป็นสมณะ ดาบส พราหมณ์ ปริพาชกอยู่ในป่ามานานหลายร้อยชาติ [๒๖๑] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าหยั่งลงสู่ครรภ์ แห่งภรรยาของพราหมณ์วัจฉโคตร ในกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์ [๒๖๒] เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์มารดาของข้าพเจ้าแพ้ท้อง ในเวลาที่ข้าพเจ้าใกล้คลอด ท่านตัดสินใจที่จะอยู่ป่า [๒๖๓] จากนั้น มารดาของข้าพเจ้าได้คลอดข้าพเจ้า ที่ชายป่าที่น่ารื่นรมย์ เมื่อข้าพเจ้าคลอดจากครรภ์มารดา ชนทั้งหลายใช้ผ้ากาสายะรองรับไว้ @เชิงอรรถ : @ นิวรณ์ หมายถึงธรรมกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีมี ๕ อย่าง คือ (๑) กามฉันทะ ความพอใจในกาม @(๒) พยาบาท ความคิดร้าย (๓) ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน @และร้อนใจ (๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๕/๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค]

๙. วนวัจฉเถราปทาน

[๒๖๔] ขณะนั้น พระสิทธัตถราชกุมาร ผู้เป็นดังธงชัยของศากยวงศ์ก็ทรงประสูติ ข้าพเจ้าเป็นสหายรักสนิทชิดชอบกันของพระองค์ [๒๖๕] เมื่อพระองค์ทรงละยศที่ไพบูลย์ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ โดยมุ่งสาระประโยชน์แก่หมู่สัตว์ แม้ข้าพเจ้าก็ออกบวชแล้วเข้าไปยังป่าหิมพานต์ [๒๖๖] ข้าพเจ้าพบพระกัสสปะผู้อยู่ป่า ผู้ควรสรรเสริญ ผู้บอกกล่าวเรื่องธุดงค์ ก็ได้ฟังข่าวว่า พระชินเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน [๒๖๗] พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม ประกาศประโยชน์ทุกประการแก่ข้าพเจ้า จากนั้น ข้าพเจ้าบวชแล้วเข้าไปยังป่าตามเดิม [๒๖๘] เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในป่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทก็ได้สำเร็จอภิญญา ๖ โอ เราผู้ที่พระศาสดาผู้ทรงเป็นกัลยาณมิตรทรงอนุเคราะห์แล้ว เป็นผู้มีลาภที่ได้ดีแล้วหนอ [๒๖๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๒๗๐] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค]

๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน

[๒๗๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระวนวัจฉเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วนวัจฉเถราปทานที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๓๒๕-๓๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=139              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=3932&Z=3968                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=139              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=139&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=7106              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=139&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=7106                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap551/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :