ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธสัญญกเถระ๑-
(พระพุทธสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้สาธยายพระเวท๒- ทรงมนตร์๓- จบไตรเพท๔- ชำนาญในคัมภีร์พยากรณ์ลักษณะ๕- คัมภีร์อิติหาสะ๖- พร้อมด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์๗- และคัมภีร์เกฏุภศาสตร์๘- @เชิงอรรถ : @ พระพุทธสัญญกเถระ หมายถึง พระวีตโสกเถระ พระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราช ภายหลังพุทธ @ปรินิพพาน ๒๑๘ ปี (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๘๒/๔๕๔) @ ผู้สาธยายพระเวท หมายถึงเป็นผู้บอกไตรเพทแก่ชนเหล่าอื่น (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒) @ ทรงมนตร์ หมายถึงมีปัญญา รอบรู้ในสาขาของพระเวท (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒) @ ไตรเพท หมายถึงคัมภีร์ ๓ คือ ฤคเวท(อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒) @ ลักษณะ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๓, @ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒) @ คัมภีร์อิติหาสะ หมายถึงประวัติศาสตร์ คือพงศาวดารเล่าเรื่องเก่าๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้ได้เป็นมาอย่างนี้ @(ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒, ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒) และดู Dawson, John. A CLASSICAL DICTIONARY @OF HINDU MYTHOLOGY (LONDON; ROUTLEDGE AND KEGAN PAUL 1957) P. 222 {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค]

๒. พุทธสัญญกเถราปทาน

[๑๐] ครั้งนั้น ศิษย์ทั้งหลายพากันมาหาข้าพเจ้าไม่ขาดสาย เหมือนกระแสน้ำ ข้าพเจ้าไม่เกียจคร้าน สอนมนตร์แก่ศิษย์เหล่านั้นทั้งกลางวันและกลางคืน [๑๑] ในคราวนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงกำจัดความมืดมนให้พินาศแล้ว ให้แสงสว่างคือพระญาณเป็นไป [๑๒] ครั้งนั้น ศิษย์ของข้าพเจ้าคนหนึ่ง ได้บอกแก่ศิษย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า พวกเขาได้ฟังความนั้น จึงบอกแก่ข้าพเจ้า [๑๓] ข้าพเจ้าคิดว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ชนย่อมประพฤติตามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แต่เราไม่มีลาภเลย [๑๔] พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีการอุบัติเลิศลอย มีพระจักษุ มีพระยศยิ่งใหญ่ ไฉนหนอ เราควรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก [๑๕] ข้าพเจ้าถือหนังสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ และคนโทน้ำของข้าพเจ้าแล้ว จึงออกจากอาศรม เรียกศิษย์ทั้งหลายมา (กล่าวว่า) @เชิงอรรถ : @ นิฆัณฑุศาสตร์ คัมภีร์ประเภทศัพท์มูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ @(Glossary) ซึ่งรวบรวมคำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยากหรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมาย เป็น @ส่วนหนึ่งของปรกติ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า นิฆัณฏุ @(ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๓) @ เกฏุภศาสตร์ คัมภีร์ที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็น @ส่วนหนึ่งของกัลปะซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ไกฏภ @(ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค]

๒. พุทธสัญญกเถราปทาน

[๑๖] ความเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกนี้หาได้ยาก เหมือนหาดอกมะเดื่อที่ดี เหมือนหากระต่ายในดวงจันทร์ หรือเหมือนหาน้ำมันกา๑- [๑๗] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว แม้ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก เมื่อทั้ง ๒ อย่างมีอยู่ แต่การได้สดับพระสัทธรรมก็หาได้ยากยิ่ง [๑๘] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ความเจริญจักมีแก่พวกเราผู้ได้ดวงตา มาเถิดท่านทั้งหลาย เราทุกคนจักไปยังสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า [๑๙] ศิษย์ทุกคนสะพายคนโทน้ำ นุ่งผ้าหนังสัตว์ที่มีเล็บ ในครั้งนั้น พวกเขาเกล้าชฎาและหาบบริขารพากันออกจากป่าใหญ่ [๒๐] พวกเขาทอดสายตาดูประมาณชั่วแอก แสวงหาประโยชน์สูงสุด เดินมาเหมือนลูกช้าง เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ดุจพญาไกรสรราชสีห์ [๒๑] พวกเขาไม่มีความสะดุ้ง หมดความละโมบ มีปัญญารักษาตน มีความประพฤติสงบ เที่ยวไปพร้อมด้วยเสบียงกรังเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด [๒๒] ในระยะทาง ๑ โยชน์ครึ่ง ข้าพเจ้าได้เกิดเจ็บป่วยขึ้น จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดแล้วสิ้นชีวิตในที่นั้น [๒๓] ในกัปที่ ๙๔ (นับจากกัปนี้ไป) ข้าพเจ้าได้สัญญาในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า @เชิงอรรถ : @ น้ำมันกาหายาก เพราะกาทั้งหลายถูกความหิวความสะดุ้งเบียดเบียนทั้งกลางคืนและกลางวันจึงหามัน @เหลวได้ยาก (ขุ.อป.อ. ๒/๑๖/๒๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค]

๓. ภิสทายกเถราปทาน

[๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระพุทธสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
พุทธสัญญกเถราปทานที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=72              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=1500&Z=1534                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=72              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=72&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5542              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=72&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5542                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap484/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :