ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์
สุตตันติกทุกมาติกา (๔๒ ทุกะ)
๑. วิชชาภาคีทุกะ
[๑๐๑] วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา. ธรรมที่มีส่วนแห่งวิชชา (๑๓๐๓) อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา. ธรรมที่มีส่วนแห่งอวิชชา (๑๓๐๔)
๒. วิชชูปมทุกะ
[๑๐๒] วิชฺชูปมา ธมฺมา. ธรรมที่เปรียบเหมือนสายฟ้า (๑๓๐๕) วชิรูปมา ธมฺมา. ธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าผ่า (๑๓๐๖)
๓. พาลทุกะ
[๑๐๓] พาลา ธมฺมา. ธรรมที่ทำให้เป็นพาล (๑๓๐๗) ปณฺฑิตา ธมฺมา. ธรรมที่ทำให้เป็นบัณฑิต (๑๓๐๘)
๔. กัณหทุกะ
[๑๐๔] กณฺหา ธมฺมา. ธรรมที่ดำ (๑๓๐๙) สุกฺกา ธมฺมา. ธรรมที่ขาว (๑๓๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา

๕. ตปนียทุกะ
[๑๐๕] ตปนียา ธมฺมา. ธรรมที่ทำให้เร่าร้อน (๑๓๑๑) อตปนียา ธมฺมา. ธรรมที่ไม่ทำให้เร่าร้อน (๑๓๑๒)
๖. อธิวจนทุกะ
[๑๐๖] อธิวจนา ธมฺมา. ธรรมที่เป็นชื่อ (สัททบัญญัติ) (๑๓๑๓) อธิวจนปถา ธมฺมา. ธรรมที่เป็นเหตุแห่งชื่อ (๑๓๑๓)
๗. นิรุตติทุกะ
[๑๐๗] นิรุตฺติ ธมฺมา. ธรรมที่เป็นนิรุตติ (สัททบัญญัติ) (๑๓๑๔) นิรุตฺติปถา ธมฺมา. ธรรมที่เป็นเหตุแห่งนิรุตติ (๑๓๑๔)
๘. ปัญญัตติทุกะ
[๑๐๘] ปญฺญตฺติ ธมฺมา. ธรรมที่เป็นบัญญัติ (๑๓๑๕) ปญฺญตฺติปถา ธมฺมา. ธรรมที่เป็นเหตุแห่งบัญญัติ (๑๓๑๕)
๙. นามรูปทุกะ
[๑๐๙] นามญฺจ. นาม (๑๓๑๖) รูปญฺจ. รูป (๑๓๑๗)
๑๐. อวิชชาทุกะ
[๑๑๐] อวิชฺชา จ. ความไม่รู้ (๑๓๑๘) ภวตณฺหา จ. ความปรารถนาภพ (๑๓๑๙)
๑๑. ภวทิฏฐิทุกะ
[๑๑๑] ภวทิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่าเกิด (๑๓๒๐) วิภวทิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่าไม่เกิด (๑๓๒๑)
๑๒. สัสสตทิฏฐิทุกะ
[๑๑๒] สสฺสตทิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่าเที่ยง (๑๓๒๒) อุจฺเฉททิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่าขาดสูญ (๑๓๒๓)
๑๓. อันตวาทิฏฐิทุกะ
[๑๑๓] อนฺตวาทิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่ามีที่สุด (๑๓๒๔) อนนฺตวาทิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่าไม่มีที่สุด (๑๓๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา

๑๔. ปุพพันตานุทิฏฐิทุกะ
[๑๑๔] ปุพฺพนฺตานุทิฏฺฐิ จ. ความเห็นปรารภส่วนอดีต (๑๓๒๖) อปรนฺตานุทิฏฺฐิ จ. ความเห็นปรารภส่วนอนาคต (๑๓๒๗)
๑๕. อหิริกทุกะ
[๑๑๕] อหิริกญฺจ. ความไม่ละอายบาป (๑๓๒๘) อโนตฺตปฺปญฺจ. ความไม่เกรงกลัวบาป (๑๓๒๙)
๑๖. หิรีทุกะ
[๑๑๖] หิรี จ. ความละอาย (๑๓๓๐) โอตฺตปฺปญฺจ. ความเกรงกลัว (๑๓๓๑)
๑๗. โทวจัสสตาทุกะ
[๑๑๗] โทวจสฺสตา จ. ความเป็นผู้ว่ายาก (๑๓๓๒) ปาปมิตฺตตา จ. ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว (๑๓๓๓)
๑๘. โสวจัสสตาทุกะ
[๑๑๘] โสวจสฺสตา จ. ความเป็นผู้ว่าง่าย (๑๓๓๔) กลฺยาณมิตฺตตา จ. ความเป็นผู้มีมิตรดี (๑๓๓๕)
๑๙. อาปัตติกุสลตาทุกะ
[๑๑๙] อาปตฺติกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ (๑๓๓๖) อาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ (๑๓๓๗)
๒๐. สมาปัตติกุสลตาทุกะ
[๑๒๐] สมาปตฺติกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ (๑๓๓๘) สมาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ (๑๓๓๙)
๒๑. ธาตุกุสลตาทุกะ
[๑๒๑] ธาตุกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ (๑๓๔๐) มนสิการกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ (๑๓๔๑)
๒๒. อายตนกุสลตาทุกะ
[๑๒๒] อายตนกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ (๑๓๔๒) ปฏิจฺจสมุปฺปาทกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปปาท (๑๓๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา

๒๓. ฐานกุสลตาทุกะ
[๑๒๓] ฐานกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ (๑๓๔๔) อฏฺฐานกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ (๑๓๔๕)
๒๔. อาชชวทุกะ
[๑๒๔] อาชฺชโว จ. ความซื่อตรง (๑๓๔๖) มทฺทโว จ. ความอ่อนโยน (๑๓๔๗)
๒๕. ขันติทุกะ
[๑๒๕] ขนฺติ จ. ขันติ (๑๓๔๘) โสรจฺจญฺจ. โสรัจจะ (๑๓๔๙)
๒๖. สาขัลยทุกะ
[๑๒๖] สาขลฺยญฺจ. ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน (๑๓๕๐) ปฏิสนฺถาโร จ. การปฏิสันถาร (๑๓๕๑)
๒๗. อินทริเยสุอคุตตทวารตาทุกะ
[๑๒๗] อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา จ. ความเป็นผู้ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (๑๓๕๒) โภชเน อมตฺตญฺญุตา จ. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค (๑๓๕๓)
๒๘. อินทริเยสุคุตตทวารตาทุกะ
[๑๒๘] อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารตา จ. ความเป็นผู้สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (๑๓๕๔) โภชเน มตฺตญฺญุตา จ. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค (๑๓๕๕)
๒๙. มุฏฐสัจจทุกะ
[๑๒๙] มุฏฺฐสจฺจญฺจ. ความเป็นผู้มีสติหลงลืม (๑๓๕๖) อสมฺปชญฺญญฺจ. ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ (๑๓๕๗)
๓๐. สติสัมปชัญญทุกะ
[๑๓๐] สติ จ. สติ (๑๓๕๘) สมฺปชญฺญญฺจ. สัมปชัญญะ (๑๓๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา

๓๑. ปฏิสังขานพลทุกะ
[๑๓๑] ปฏิสงฺขานพลญฺจ. กำลังคือการพิจารณา (๑๓๖๐) ภาวนาพลญฺจ. กำลังคือภาวนา (๑๓๖๑)
๓๒. สมถวิปัสสนาทุกะ
[๑๓๒] สมโถ จ. สมถะ (๑๓๖๒) วิปสฺสนา จ. วิปัสสนา (๑๓๖๓)
๓๓. สมถนิมิตตทุกะ
[๑๓๓] สมถนิมิตฺตญฺจ. นิมิตแห่งสมถะ (๑๓๖๔) ปคฺคาหนิมิตฺตญฺจ. นิมิตแห่งความเพียร (๑๓๖๕)
๓๔. ปัคคาหทุกะ
[๑๓๔] ปคฺคาโห จ. ความเพียร (๑๓๖๖) อวิกฺเขโป จ. ความไม่ฟุ้งซ่าน (๑๓๖๗)
๓๕. สีลวิปัตติทุกะ
[๑๓๕] สีลวิปตฺติ จ. ความวิบัติแห่งศีล (๑๓๖๘) ทิฏฺฐิวิปตฺติ จ. ความวิบัติแห่งทิฏฐิ (๑๓๖๙)
๓๖. สีลสัมปทาทุกะ
[๑๓๖] สีลสมฺปทา จ. ความสมบูรณ์แห่งศีล (๑๓๗๐) ทิฏฺฐิสมฺปทา จ. ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ (๑๓๗๑)
๓๗. สีลวิสุทธิทุกะ
[๑๓๗] สีลวิสุทฺธิ จ. ความหมดจดแห่งศีล (๑๓๗๒) ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ จ. ความหมดจดแห่งทิฏฐิ (๑๓๗๓)
๓๘. ทิฏฐิวิสุทธิโขปนทุกะ
[๑๓๘] ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ โข ปน. ความหมดจดแห่งทิฏฐิ (๑๓๗๔) ยถาทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ. ความเพียรของบุคคลผู้มีความเห็นหมดจด (๑๓๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา

๓๙. สังเวชนียัฏฐานทุกะ
[๑๓๙] สํเวโค จ สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ. ความสังเวชในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ (๑๓๗๖) สํวิคฺคสฺส จ โยนิโส ปธานํ. ความเพียรโดยแยบคายของบุคคลผู้สลดใจ (๑๓๗๗)
๔๐. อสันตุฏฐิตากุสลธัมมทุกะ
[๑๔๐] อสนฺตุฏฺฐิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ. ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมที่เป็นกุศล (๑๓๗๘) อปฺปฏิวานตา จ ปธานสฺมึ. ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร (๑๓๗๙)
๔๑. วิชชาทุกะ
[๑๔๑] วิชฺชา จ. ความรู้แจ้ง (๑๓๘๐) วิมุตฺติ จ. ความหลุดพ้น (๑๓๘๑)
๔๒. ขเยญาณทุกะ
[๑๔๒] ขเย ญาณํ. ญาณในอริยมรรค (๑๓๘๒) อนุปฺปาเท ญาณํ. ญาณในอริยผล (๑๓๘๓)
สุตตันติกทุกมาติกา จบ
มาติกา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๕}
หน้าว่าง
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๐-๒๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=467&Z=597                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=15              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=15&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=15&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds1.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :