ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกอุทเทส

๒. ทุกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก
[๘] บุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. บุคคลผู้มักโกรธ บุคคลผู้ผูกโกรธ (๔๕-๔๖) ๒. บุคคลผู้มักลบหลู่ บุคคลผู้ตีเสมอ (๔๗-๔๘) ๓. บุคคลผู้มีความริษยา บุคคลผู้มีความตระหนี่ (๔๙-๕๐) ๔. บุคคลผู้โอ้อวด บุคคลผู้มีมายา (๕๑-๕๒) ๕. บุคคลผู้ไม่มีหิริ บุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ (๕๓-๕๔) ๖. บุคคลผู้ว่ายาก บุคคลผู้มีมิตรชั่ว (๕๕-๕๖) ๗. บุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในการ บริโภค (๕๗-๕๘) ๘. บุคคลผู้มีสติหลงลืม บุคคลผู้ไม่มีสัมปชัญญะ (๕๙-๖๐) ๙. บุคคลผู้มีศีลวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ (๖๑-๖๒) ๑๐. บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก (๖๓-๖๔) ๑๑. บุคคลผู้ไม่มักโกรธ บุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ (๖๕-๖๖) ๑๒. บุคคลผู้ไม่ลบหลู่ บุคคลผู้ไม่ตีเสมอ (๖๗-๖๘) ๑๓. บุคคลผู้ไม่ริษยา บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ (๖๙-๗๐) ๑๔. บุคคลผู้ไม่โอ้อวด บุคคลผู้ไม่มีมายา (๗๑-๗๒) ๑๕. บุคคลผู้มีหิริ บุคคลผู้มีโอตตัปปะ (๗๓-๗๔) ๑๖. บุคคลผู้ว่าง่าย บุคคลผู้มีมิตรดี (๗๕-๗๖) ๑๗. บุคคลผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้รู้ประมาณในการบริโภค (๗๗-๗๘) ๑๘. บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ (๗๙-๘๐) ๑๙. บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ (๘๑-๘๒) ๒๐. บุคคลผู้หาได้ยากในโลก ๒ จำพวก (๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกอุทเทส

๒๑. บุคคลผู้ให้อิ่มได้ยาก ๒ จำพวก (๘๔) ๒๒. บุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จำพวก (๘๕) ๒๓. อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนย่อมเพิ่มพูน (๘๖) ๒๔. อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนย่อมไม่เพิ่มพูน (๘๗) ๒๕. บุคคลผู้มีอัธยาศัยเลว บุคคลผู้มีอัธยาศัยประณีต (๘๘-๘๙) ๒๖. บุคคลผู้อิ่มแล้ว บุคคลผู้ทำคนอื่นให้อิ่ม (๙๐)
ทุกอุทเทส จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑๓๙-๑๔๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=36&siri=18              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=36&A=2418&Z=2467                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=523              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=36&item=523&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3493              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=36&item=523&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3493                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pp1.2/en/law



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :