บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘) ว่าด้วยญาณที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ [๕๕๗] สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ญาณเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๗-๕๕๘/๒๔๕) @๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่เห็นรูป เป็นต้น ญาณของพระอรหันต์ปรากฏอยู่ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ @ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ในขณะที่เห็นรูป เป็นต้น ญาณของพระอรหันต์ไม่ปรากฏ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๗-๕๕๘/๒๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๗}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]
๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)
สก. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นับเนื่องในขันธ์ไหน ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์ สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๘}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]
๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ แต่ ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้ อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๕๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ท่านยอมรับว่า เป็นผู้มีญาณ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ญาณนั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ญาณจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ปร. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ท่านยอมรับว่า เป็นผู้มีปัญญา ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๙}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]
๖. (ก) อตีตารัมมณกถา (๘๙)
ปร. ปัญญานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ปัญญาจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ญาณังอนารัมมณันติกถา จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๐๗-๖๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=108 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=13324&Z=13383 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1338 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1338&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5515 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1338&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5515 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv9.5/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]