บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓) ว่าด้วยศีลมีการสมาทานเป็นเหตุ [๕๙๘] สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๘/๒๕๔) @๒ เพราะมีความเห็นว่า เพียงแต่สมาทานศีลเท่านั้น ศีลก็เจริญขึ้นอย่างต่อเนื่อง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๘/๒๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๕๒}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]
๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓)
สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ศีลเจริญได้เหมือนเถาวัลย์ เหมือนเถาย่านทราย เหมือนต้นไม้ เหมือน ต้นหญ้า เหมือนหญ้าปล้องใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๙๙] สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อบุคคลสมาทานศีลแล้ว ตรึกถึงกามวิตก ตรึกถึงพยาบาทวิตก ตรึกถึงวิหิงสาวิตกอยู่ ศีลเจริญได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ๑- เป็นฝ่ายขาว๒- และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ๓- มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑ ฝ่ายดำ หมายถึงสังกิเลสธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง) (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘) @๒ ฝ่ายขาว หมายถึงโวทานธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้ผ่องแผ้ว) (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘) @๓ มีส่วนเปรียบ หมายถึงสังกิเลสธรรมเป็นข้าศึกกับโวทานธรรมตามลำดับ โดยการแสดงการเปรียบเทียบว่า @สังกิเลสธรรมเป็นธรรมที่ควรละ ส่วนโวทานธรรมเป็นธรรมที่ละ (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๕๓}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]
๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้ สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่าย มีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ [๖๐๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใดปลูกสวนอันน่ารื่นรมย์ ปลูกป่า ฯลฯ ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลแล้วย่อมไปสู่สวรรค์๒- มีอยู่จริง มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ จึงเจริญได้สมาทานเหตุกถา จบ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗ @๒ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๔๗/๖๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๕๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๕๒-๖๕๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=124 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=14295&Z=14338 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1424 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1424&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5723 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1424&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5723 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv10.9/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]