ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๕. สัตตักขัตตุปรมกถา (๑๒๐)

๕. สัตตักขัตตุปรมกถา (๑๒๐)
ว่าด้วยบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ
[๖๔๑] สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ๑- เป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่งใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิต พระอรหันต์ มีจิตคิดประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้ แตกกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะนั้น เป็นผู้ไม่ควรที่จะได้บรรลุธรรมในระหว่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้ไม่ควรที่จะได้บรรลุธรรมในระหว่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เขาปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิตคิดประทุษร้าย ทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว @ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกอีก @๗ ชาติแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓-๕๔), ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๓๑/๑๕๔ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๑/๒๖๔) @ เพราะมีความเห็นว่า พระโสดาบันประเภทสัตตักขัตตุปรมะต้องเกิดถึง ๗ ชาติ จึงจะสามารถบรรลุ @อรหัตตผลได้(ตีความตามพยัญชนะ) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระโสดาบันประเภทสัตตัก- @ขัตตุปรมะไม่มีกฎตายตัวว่าจะต้องเกิดถึง ๗ ชาติ บางท่านอาจไม่ถึง ๗ ชาติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแก่กล้า @แห่งอินทรีย์ของแต่ละบุคคล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๑/๒๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๕. สัตตักขัตตุปรมกถา (๑๒๐)

[๖๔๒] สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็น อย่างยิ่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมรรคอันแน่นอนใด มรรคอันแน่นอนนั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ด้วยสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์เหล่าใด สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์เหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๔๓] สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็น อย่างยิ่ง ด้วยมรรคอันแน่นอนใด มรรคอันแน่นอนนั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมรรคอันแน่นอนใด มรรคอันแน่นอนนั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคล ผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง” สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ด้วยสติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์เหล่าใด สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์เหล่านั้น ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็น อย่างยิ่ง ด้วยโพชฌงค์เหล่าใด โพชฌงค์เหล่านั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๕. สัตตักขัตตุปรมกถา (๑๒๐)

[๖๔๔] สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็น อย่างยิ่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ด้วยการกำหนดแน่นอนคือสกทาคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ด้วยการกำหนดแน่นอนคืออนาคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ด้วยการกำหนดแน่นอนคืออรหัตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ด้วยการกำหนดแน่นอนอะไร ปร. ด้วยการกำหนดแน่นอนคือโสดาปัตติผล สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เหล่าชนที่ก้าวลงสู่โสดาปัตตินิยาม ทั้งหมดนั้นเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิด อีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๔๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิด อีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง”
สัตตักขัตตุปรมกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๐๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๙๙-๗๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=139              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=15256&Z=15321                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1492              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1492&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5939              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1492&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5939                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv12.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :