บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๖. สัมมุขีภูตกถา (๑๓๑) ว่าด้วยผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ [๖๖๘] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละสังโยชน์ได้ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. บุคคลผู้กำหนัดแล้วละราคะ ผู้ขัดเคืองแล้วละโทสะ ผู้หลงแล้วละโมหะ ผู้เศร้าหมองแล้วละกิเลสได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะด้วยโมหะ ละกิเสส ด้วยกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๑๙/๒๖ @๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๘-๖๗๐/๒๗๐) @๓ เพราะมีความเห็นว่า การละสังโยชน์นั้นจะต้องละในช่วงที่ถูกสังโยชน์ครอบงำเท่านั้น ซึ่งต่างกับความเห็น @ของสกวาทีที่เห็นว่า การละสังโยชน์จะต้องละก่อนที่จะถูกสังโยชน์ครอบงำ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๘-๖๗๐/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๑๙}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]
๖. สัมมุขีภูตกถา (๑๓๑)
สก. ราคะสัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ราคะเป็นอกุศล แต่มรรคเป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๖๙] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้ สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๒๐}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]
๖. สัมมุขีภูตกถา (๑๓๑)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ มาประชุมกันได้ สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละสังโยชน์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า บุคคลนั้น เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้นอาสวะ๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละ สังโยชน์ได้ [๖๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละสังโยชน์ได้ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้นเมื่อรู้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิต ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง ฯลฯ จากอวิชชาสวะบ้าง๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์จึงละสังโยชน์ได้สัมมุขีภูตกถา จบ @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๑๙/๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๒๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๑๙-๗๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=149 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=15652&Z=15701 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1526 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1526&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6091 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1526&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6091 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv13.6/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]