ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค]

๔. อิทธิกถา (๒๐๓)

๔. อิทธิกถา (๒๐๓)
ว่าด้วยฤทธิ์
[๘๘๓] สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงมีใบเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือ พระสาวกมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงผลิดอกเป็นนิจ ฯลฯ ออกผลเป็นนิจ ฯลฯ ขอสถานที่แห่งนี้จงสว่างเป็นนิจ ฯลฯ จงเกษมเป็นนิจ ฯลฯ จงมีภิกษา หาได้ง่ายเป็นนิจ ฯลฯ จงมีฝนดีเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้า หรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๓/๓๑๕-๓๑๖) @ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างด้วยอำนาจฤทธิ์ ซึ่งต่างกับ @ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกไม่สามารถเปลี่ยนธรรมนิยามคือไตรลักษณ์ได้ เช่น @เปลี่ยนสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เป็นสิ่งที่เที่ยงได้ด้วยอำนาจฤทธิ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๓/๓๑๕-๓๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค]

๔. อิทธิกถา (๒๐๓)

สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิต ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว อย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “รูปจงเป็นของเที่ยง ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณจงเป็นของเที่ยง” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่าได้ เกิดเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดาอย่าได้แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้ง หลายผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตาย เป็นธรรมดาอย่าได้ตายเลย” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรยอมรับอย่างนั้น ฯลฯ [๘๘๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระ สาวกมีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้เป็น จอมทัพ พระนามว่าพิมพิสารว่า “จงเป็นทอง” และปราสาทก็ได้กลายเป็นทองไป จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค]

๕. พุทธกถา (๒๐๔)

ปร. หากท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้เป็นจอมทัพ พระนามว่าพิมพิสารว่า “จงเป็นทอง” และปราสาทนั้นก็ได้กลายเป็น ทองไปจริงๆ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ฤทธิ์ที่เป็นเหตุให้สำเร็จได้ตามความ ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่”
อิทธิกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๙๑๔-๙๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=221              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=19604&Z=19654                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1841              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1841&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7107              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1841&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7107                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv21.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :