ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๓. (ข) โอธิโสกถา
ว่าด้วยการละกิเลสได้เป็นส่วนๆ
[๒๗๔] สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระ โสดาบัน ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผล ด้วยกาย๓- อยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นมีสมิติยะ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๔/๑๖๘) @ เพราะมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลไม่สามารถละกิเลสแต่ละชนิดได้สิ้นเชิงในขณะจิตเดียว @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๔/๑๖๘) @ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ข) โอธิโสกถา

ในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ใน จิต ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ปร. ละวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับ กิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ปร. ละสีลัพพตปรามาสและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับสีลัพพตปรามาส นั้นได้บางส่วน @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลมีโสดาบันเป็นต้นที่เป็นส่วนๆ ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๔/๑๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ข) โอธิโสกถา

สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระโสดาบัน ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส โสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็น พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่ พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๗๕] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น ทุกข์ ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิต ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิต ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ปร. ละพยาบาทอย่างหยาบและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาท นั้นได้บางส่วน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ข) โอธิโสกถา

สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ปร. ละพยาบาทอย่างหยาบและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาทนั้นได้ สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๗๖] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และ กิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระอนาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิ- ผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้ อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ข) โอธิโสกถา

สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ปร. ละพยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาท นั้นได้บางส่วน สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ปร. ละกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสนั้นได้ สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระอนาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส อนาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระ อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๗๗] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น ทุกข์ ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้บางส่วน สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระ อรหันต์ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ข) โอธิโสกถา

อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่อง ผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระ เนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (ส่วนหนึ่งทำให้แจ้ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว) อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และ กิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้บางส่วน สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้ แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ปร. ละมานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลส ทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้ แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ข) โอธิโสกถา

ปร. ละอุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระอรหันต์ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผล ด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้น กิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียด ได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระ คือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้ แจ้งนิโรธ เจริญมรรค รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละ ธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว อีก ส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๗๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตน ทีละน้อยๆ ในทุกขณะโดยลำดับ เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ” สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๓๙/๑๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ข) โอธิโสกถา

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้อย่างสิ้นเชิง พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรค พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ ภูมิ๑- และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ” สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง โสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส”๓- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ”
โอธิโสกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ อบายทั้ง ๔ ภูมิ หมายถึงภูมิที่ปราศจากความเจริญมี ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย @(ขุ.ขุ.อ. ๑๑/๑๖๕) @ อภิฐาน ๖ หมายถึงฐานะอันหนัก ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ฆ่ามารดา (๒) ฆ่าบิดา (๓) ฆ่าพระอรหันต์ @(๔) ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ (๕) ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน (๖) นิยตมิจฉาทิฏฐิ @(ขุ.ขุ.อ. ๑๑/๑๖๗), และดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๐-๑๑/๑๒, ๒๓๕/๕๕๕ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=23              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=3392&Z=3572                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=279              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=279&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3771              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=279&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3771                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :