ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๖. สมมติญาณกถา (๔๘)

๖. สมมติญาณกถา (๔๘)
ว่าด้วยสมมติญาณ๑-
[๔๓๔] ปร.๒- ท่านไม่ยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีญาณอยู่ และปฐวีกสิณเป็น สมมติสัจจะใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีญาณอยู่ และปฐวีกสิณเป็น สมมติสัจจะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรม อื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ผู้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีญาณอยู่ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็น สมมติสัจจะ มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากผู้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีญาณอยู่ และคิลานปัจจยเภสัช- บริขารเป็นสมมติสัจจะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้น เป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” @เชิงอรรถ : @ สมมติญาณ หมายถึงญาณที่รู้สมมติบัญญัติ เช่น รู้บุคคล รู้ความจริงโดยสมมติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๔/๒๑๒) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ ซึ่งมีความเห็นว่า สมมติญาณก็สามารถรู้สัจจะได้ คำว่า สัจจะ ในที่นี้ @เป็นความหมายรวมๆ ไม่แยกว่าเป็นสมมติสัจจะหรือปรมัตถสัจจะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๔/๒๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)

[๔๓๕] สก. สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สมมติญาณกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๖๔-๔๖๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=68              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=10178&Z=10205                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1062              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1062&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4770              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1062&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4770                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv5.6/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :