ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๔. อารุปปกถา (๕๖)

๔. อารุปปกถา (๕๖)
ว่าด้วยอรูปฌาน
[๔๕๕] สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. อากาสานัญจายตนฌาน เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็น ที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพาน ก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อากาสานัญจายตนฌาน เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒-๔๕๔/๒๑๘) @ เพราะมีความเห็นว่า อรูปฌานเป็นอสังขตธรรม โดยยึดถือตามพระพุทธพจน์ที่ว่า “อรูปฌาน ๔ เป็น @สภาวะที่เที่ยงแท้ไม่หวั่นไหว” ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ถูก @ปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๕-๔๕๖/๒๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๔. อารุปปกถา (๕๖)

สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็น สงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัตว์ผู้เข้าถึงสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในอากาสานัญจายตนฌาน มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในอากาสานัญจายตนฌาน มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)

[๔๕๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย ปรุงแต่ง” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. อรูปฌาน ๔ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากอรูปฌาน ๔ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
อารุปปกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๘๖-๔๘๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=76              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=10679&Z=10731                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1096              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1096&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4924              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1096&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4924                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv6.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :