ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๕. ปวารณาสังคหะ

๑๔๕. ปวารณาสังคหะ
ว่าด้วยการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา
[๒๔๑] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเคยเห็นเคยคบกันมา เข้าจำพรรษา ณ อาวาส แห่งหนึ่งในแคว้นโกศล เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียงร่วมใจกันไม่ทะเลาะกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อมา ได้มีการสนทนาดังนี้ว่า เมื่อ พวกเราพร้อมเพรียงร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใด อย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจักปวารณาในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอจึงนำเรื้องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้สงเคราะห์กันด้วยปวารณา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุหลายรูปเคยเห็น เคยคบกันมา เข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่ง เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียง ร่วมใจกันไม่ทะเลาะกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุ ทั้งหลายในที่นั้น สนทนากันว่า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงร่วมใจกันไม่ทะเลาะกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจักปวารณาในบัดนี้ บาง ทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเหล่า นั้นทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา
วิธีสงเคราะห์กันด้วยปวารณาและกรรมวาจาสงเคราะห์กันด้วยปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงทำการสงเคราะห์กันปวารณาอย่างนี้ ภิกษุทุกรูปต้องประชุมในที่เดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๙๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๕. ปวารณาสังคหะ

ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียงร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจัก ปวารณาในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา บัดนี้สงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงยกปาฏิโมกข์ ขึ้นแสดง พึงปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมา ถึงเถิด นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อภิกษุเหล่านั้นพร้อมเพรียงร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจัก ปวารณาในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณาแล้ว จะพึงหลีกไปสู่ที่จาริก จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้เหินห่างผาสุวิหารธรรมนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ จักยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดง จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมาถึง ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการที่ทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณา บัดนี้สงฆ์จักทำ อุโบสถ จักยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมาถึง ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง การเลื่อนปวารณาสงฆ์ได้ทำแล้ว บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ จักยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดง จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมาถึง สงฆ์เห็นด้วย เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องไม่มีใครเป็นใหญ่ในปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำการสงเคราะห์กันด้วยปวารณาแล้ว ถ้ามี ภิกษุสักรูปหนึ่งกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ผมปรารถนาจะหลีกจาริกไปยังชนบท เพราะผมมีธุระในชนบท ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ดีแล้ว ท่าน ท่านจงปรารถนาแล้วไปเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๙๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๖. รวมเรื่องที่มีในปวารณาขันธกะ

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุนั้นปวารณาอยู่ งดปวาณาของภิกษุรูปหนึ่งเสีย ภิกษุผู้ถูกงดปวารณาพึงกล่าวกับภิกษุผู้งดปวารณาว่า “ท่าน ท่านไม่เป็นใหญ่ใน ปวารณาของผม ผมจะยังไม่ปวารณาก่อน” ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นปวารณาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งงดปวาณาของภิกษุ นั้นเสีย สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว ปรับอาบัติตามธรรม ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุนั้นทำธุระจำเป็นในชนบทเสร็จแล้ว กลับมายังอาวาส นั้นอีกภายในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้น ปวารณาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งงดปวาณาของภิกษุนั้นเสีย ภิกษุผู้ถูกห้ามปวารณาพึง กล่าวกับภิกษุผู้งดปวารณาว่า “ท่าน ท่านไม่เป็นใหญ่ในปวารณาของผม เพราะ ผมปวารณา เสร็จแล้ว” ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นปวารณาอยู่ ภิกษุนั้นงดปวารณาของภิกษุ รูปหนึ่ง สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว ปรับอาบัติตามธรรมปวารณาเถิด
ปวารณาขันธกะที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓๙๐-๓๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=78              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=7371&Z=7427                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=251              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=251&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=251&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i224-e.php#topic18 https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/brahmali#pli-tv-kd4:18.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/horner-brahmali#Kd.4.17.10



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :