บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
เรื่องอเจลกัสสปะ
๘. มหาสีหนาทสูตร ว่าด้วยการบันลืออย่างองอาจดังพญาราชสีห์ เรื่องอเจลกัสสปะ [๓๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กัณณกถล มฤคทายวัน เขตเมือง อุชุญญา ครั้งนั้น อเจลกัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค สนทนากับพระองค์พอคุ้น เคยแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ทูลถามว่า ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระสมณโคดมทรงตำหนิตบะทุกชนิด ทรงคัดค้านและชี้โทษผู้บำเพ็ญตบะทั้งปวงว่า เป็นผู้มีอาชีวะเศร้าหมองโดยส่วนเดียว สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระ สมณโคดมทรงตำหนิตบะทุกชนิด ทรงคัดค้านและชี้โทษผู้บำเพ็ญตบะทั้งปวงว่าเป็น ผู้มีอาชีวะเศร้าหมองโดยส่วนเดียว ชื่อว่าพูดตรงตามที่ท่านพระโคดมตรัสไว้ ไม่ ชื่อว่ากล่าวตู่ท่านพระโคดมด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำเล่าลืออันชอบธรรมนั้นจะเป็นเหตุที่ควรตำหนิได้ เพราะพวก ข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่ท่านพระโคดมเลย [๓๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัสสปะ สมณพราหมณ์ที่กล่าวว่า พระสมณโคดมทรงตำหนิตบะทุกชนิด ทรงคัดค้านและชี้โทษผู้บำเพ็ญตบะทั้งปวงว่า เป็นผู้มีอาชีวะเศร้าหมองโดยส่วนเดียว ไม่ถือว่าพูดตรงตามที่เราพูด ทั้งไม่ถือว่า กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ด้วยอาศัยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เราจึงเห็นบุคคลผู้ บำเพ็ญตบะบางคนในโลกนี้มีอาชีวะเศร้าหมอง หลังจากตายแล้ว ไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ก็มี [๓๘๓] ด้วยอาศัยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เราเห็นบุคคลผู้บำเพ็ญ ตบะบางคนในโลกนี้อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย หลังจากตายแล้วไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ก็มี เรารู้การมา การไป การจุติ และการบังเกิดของคนเหล่านั้นตามความเป็นจริงอย่างนี้ ไฉนเราจักตำหนิตบะ ทุกชนิด หรือคัดค้านและชี้โทษผู้บำเพ็ญตบะทั้งปวงว่า เป็นผู้มีอาชีวะเศร้าหมองโดย ส่วนเดียวเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๑}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการไล่เลียงสอบสวน
[๓๘๔] กัสสปะ มีสมณพราหมณ์บางพวกเป็นบัณฑิต ทรงภูมิปัญญา มักโต้ แย้ง มีท่าทางดังขมังธนู พวกเขาดูเหมือนจะกำจัดทิฏฐิได้ด้วยปัญญา สมณพราหมณ์ เหล่านั้นมีทรรศนะตรงกับเราในบางเรื่อง ไม่ตรงกันกับเราในบางเรื่อง บางประเด็นที่ พวกเขาว่าดี แม้เราก็ว่าดี บางประเด็นที่พวกเขาว่าไม่ดี แม้เราก็ว่าไม่ดี บางประเด็น ที่พวกเขาว่าดี แต่เราว่าไม่ดี บางประเด็นที่พวกเขาว่าไม่ดี แต่เราว่าดี บางประเด็นที่เราว่าดี สมณพราหมณ์พวกอื่นก็ว่าดี บางประเด็นที่เราว่าไม่ดี สมณพราหมณ์พวกอื่นก็ว่าไม่ดี บางประเด็นที่เราว่าดี สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับ ว่าไม่ดี บางประเด็นที่เราว่าไม่ดี สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับว่าดีว่าด้วยการไล่เลียงสอบสวน [๓๘๕] กัสสปะ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ เรื่องที่ทำให้พวกเรามีวัตรปฏิบัติไม่ตรงกันจงงดไว้ แต่ในเรื่องที่ตรงกัน วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน เปรียบเทียบศาสดากับศาสดา หมู่สาวกกับหมู่สาวก ว่า ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นอกุศลก็จัดว่าเป็นอกุศล ที่มีโทษก็จัดว่ามีโทษ ที่ไม่ควรเสพก็จัดว่าไม่ควรเสพ ที่ไม่ประเสริฐก็จัดว่าไม่ประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายชั่วก็ จัดว่าเป็นฝ่ายชั่ว ใครเล่าที่ละธรรมเหล่านี้ได้เด็ดขาด พระสมณโคดมหรือว่า คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่ [๓๘๖] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นอกุศลก็จัดว่าเป็นอกุศล ที่มีโทษก็จัดว่า มีโทษ ที่ไม่ควรเสพก็จัดว่าไม่ควรเสพ ที่ไม่ประเสริฐก็จัดว่าไม่ประเสริฐ และที่เป็น ฝ่ายชั่วก็จัดว่าเป็นฝ่ายชั่ว พระสมณโคดมละธรรมเหล่านี้ได้เด็ดขาด หรือว่า คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่ ในเรื่องนั้นวิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน อย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้น [๓๘๗] ยังมีอีก กัสสปะ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบ เทียบศาสดากับศาสดา หมู่สาวกกับหมู่สาวกว่า ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็น กุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่าไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๒}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการไล่เลียงสอบสวน
ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัดว่าเป็นฝ่ายดี ใครเล่าที่สมาทาน ประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน พระสมณโคดมหรือว่าคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น กันแน่ [๓๘๘] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นกุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่า ไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัด ว่าเป็นฝ่ายดี พระสมณโคดมสมาทานประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน หรือว่า คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่ ในเรื่องนั้น วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน อย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้น [๓๘๙] ยังมีอีก กัสสปะ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบ เทียบศาสดากับศาสดา หมู่สาวกกับหมู่สาวกว่า ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็น อกุศลก็จัดว่าเป็นอกุศล ที่มีโทษก็จัดว่ามีโทษ ที่ไม่ควรเสพก็จัดว่าไม่ควรเสพ ที่ไม่ ประเสริฐ ก็จัดว่าไม่ประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายชั่วก็จัดว่าเป็นฝ่ายชั่ว ใครเล่าที่ละธรรม เหล่านี้ได้เด็ดขาด หมู่สาวกของพระสมณโคดมหรือว่าหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้ เจริญเหล่าอื่นกันแน่ [๓๙๐] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นอกุศลก็จัดว่าเป็นอกุศล ที่มีโทษก็จัดว่า มีโทษ ที่ไม่ควรเสพก็จัดว่าไม่ควรเสพ ที่ไม่ประเสริฐก็จัดว่าไม่ประเสริฐ และที่เป็น ฝ่ายชั่วก็จัดว่าเป็นฝ่ายชั่ว หมู่สาวกของพระสมณโคดมละธรรมเหล่านี้ได้เด็ดขาด หรือว่าหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่ ในเรื่องนั้น วิญญูชนเมื่อซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนอย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้น [๓๙๑] ยังมีอีก กัสสปะ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบ เทียบศาสดากับศาสดา หมู่สาวกกับหมู่สาวกว่า ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็น กุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่าไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่ ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัดว่าเป็นฝ่ายดี ใครเล่าที่สมาทาน ประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน หมู่สาวกของพระสมณโคดมหรือว่าหมู่สาวกของ คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๓}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะ
[๓๙๒] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นกุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่า ไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัด ว่าเป็นฝ่ายดี หมู่สาวกของพระสมณโคดมสมาทานประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน หรือว่าหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่ ในเรื่องนั้น วิญญูชนเมื่อซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนอย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้นอริยมรรคมีองค์ ๘ [๓๙๓] กัสสปะ มีทาง มีข้อปฏิบัติ ที่ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เองเห็นเองว่า พระ สมณโคดมตรัสถูกเวลา ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย กัสสปะ อะไรคือทาง อะไรคือข้อปฏิบัติ ที่ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เองเห็นเองว่า พระ สมณโคดมตรัสถูกเวลา ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ), สัมมาสังกัปปะ(ดำริ ชอบ), สัมมาวาจา(เจรจาชอบ), สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ), สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพ ชอบ), สัมมาวายามะ(พยายามชอบ), สัมมาสติ(ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ(ตั้งจิต มั่นชอบ) กัสสปะ นี้แลคือทาง คือข้อปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เองเห็นเองว่า พระ สมณโคดมตรัสถูกเวลา ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัยว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะ [๓๙๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ อเจลกัสสปะกราบทูลว่า ท่านพระ โคดม การบำเพ็ญตบะที่นับว่าเป็นสามัญคุณ๑- และเป็นพรหมัญคุณ๒- ของ สมณพราหมณ์แม้เหล่านี้ คือ เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับ อาหารที่เขาแบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับ @เชิงอรรถ : @๑ หมายถึง สมณกรรม ได้แก่การบำเพ็ญตบะ อันเป็นสิ่งที่ทำให้ความเป็นสมณะสมบูรณ์ ตามความเข้าใจ @ของคนยุคนั้น (ที.สี.อ. ๓๙๔/๒๙๒) @๒ หมายถึง พราหมณกรรม ได้แก่ข้อปฏิบัติที่ทำให้เป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์ ตามความเข้าใจของคนยุค @นั้น (ที.สี.อ. ๓๙๔/๒๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๔}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะ
อาหารจากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่ รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่กำลัง บริโภค ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่ รับอาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่ เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่มๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าวคำเดียว รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ รับอาหารในเรือน ๗ หลัง ยัง ชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๑ ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาด น้อย ๒ ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๗ ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๑ วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๗ วัน ถือ๑- การบริโภค อาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้อ [๓๙๕] การบำเพ็ญตบะที่นับว่าเป็นสามัญคุณและพรหมัญคุณของสมณ- พราหมณ์เหล่านั้น คือ กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือย เป็นอาหาร กินกากข้าวเป็นอาหาร กินยางเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กิน รำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็นอาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กิน โคมัยเป็นอาหาร กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ [๓๙๖] การบำเพ็ญตบะที่นับว่าเป็นสามัญคุณและพรหมัญคุณของสมณ- พราหมณ์เหล่านั้น คือ นุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่ม ผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้า คากรอง๒- นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า ถอนผมและหนวด คือ ถือการถอน ผมและหนวด ยืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่ง คือ ถือการเดินกระโหย่ง (เหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) นอนบนหนาม นอนบนแผ่นกระดาน นอนบนเนินดิน นอน ตะแคงข้างเดียว เอาฝุ่นคลุกตัว อยู่กลางแจ้ง นั่งบนอาสนะตามที่ปูไว้ บริโภคคูถ คือ ถือการบริโภคคูถ ไม่ดื่มน้ำเย็น คือถือการไม่ดื่มน้ำเย็น อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ @เชิงอรรถ : @๑ คำว่า ถือ ในที่นี้ แปลจากบาลีว่า อนุโยคมนุยุตฺต ซึ่งหมายถึง การยึดมั่นในวัตรปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง @๒ ผ้าที่ถักทอด้วยหญ้าคา เป็นผ้าที่พวกฤๅษีใช้นุ่งห่ม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๕}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะที่ไร้ประโยชน์
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะที่ไร้ประโยชน์ [๓๙๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กัสสปะ แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นอเจลก ไม่มีมารยาท เลียมือ ฯลฯ ถือการบริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้อเช่นนี้ สีล- สัมปทา จิตสัมปทา หรือปัญญาสัมปทาก็ยังไม่เป็นอันสมณพราหมณ์นั้นอบรมทำ ให้แจ้ง ที่แท้ เขายังห่างไกลจากสามัญคุณและพรหมัญคุณ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตา จิตอันไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง ว่าพราหมณ์๑- บ้าง แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร ฯลฯ กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร กินผลไม้หล่นยังชีพ สีลสัมปทา จิตสัมปทา หรือปัญญาสัมปทาก็ยังไม่เป็นอันสมณพราหมณ์นั้นอบรมทำให้แจ้ง ที่แท้ เขายัง ห่างไกลจากสามัญคุณและพรหมัญคุณ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวรไม่มี ความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้น ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่าสมณะบ้าง ว่า พราหมณ์บ้าง แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นผู้นุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน ฯลฯ อาบน้ำวัน ละ ๓ ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ สีลสัมปทา จิตสัมปทา หรือปัญญาสัมปทาก็ยังไม่ เป็นอันสมณพราหมณ์นั้นอบรมทำให้แจ้ง ที่แท้ เขายังห่างไกลจากสามัญคุณและ พรหมัญคุณ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่าสมณะบ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง [๓๙๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ อเจลกัสสปะกราบทูลว่า ท่าน พระโคดม สามัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้อที่สามัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็น กิจที่ทำได้ยากเป็นเรื่องปกติในโลก แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นอเจลก ไม่มีมารยาท @เชิงอรรถ : @๑ พราหมณ์ ในที่นี้ หมายถึงพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๖}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะที่ไร้ประโยชน์
เลียมือ ฯลฯ ถือการบริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้อเช่นนี้ ถ้าสามัญคุณหรือ พรหมัญคุณ ซึ่งถือว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากแสนยากจักมีได้ด้วยการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และด้วยการบำเพ็ญตบะดังกล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า สามัญคุณเป็น กิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดีแม้กระทั่งนางกุมภทาสีก็อาจจะทำสามัญคุณ และพรหมัญคุณนั้นได้ด้วยกล่าวว่า เอาเถอะ เราจะเป็นอเจลก ไม่มีมารยาท เลีย มือ ฯลฯ ถือการบริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้อเช่นนี้ เพราะสามัญคุณหรือพรหมัญคุณจักได้ชื่อว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากแสนยาก ก็ต่อ เมื่อได้เว้นจากการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึง ควรกล่าวว่า สามัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก หาก ภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่าสมณะบ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร ฯลฯ กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร กินผลไม้หล่นยังชีพ ถ้าสามัญคุณหรือ พรหมัญคุณ ซึ่งถือว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากแสนยาก จักมีได้ด้วยการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และด้วยการบำเพ็ญตบะดังกล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า สามัญคุณเป็น กิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดี แม้กระทั่งนางกุมภทาสีก็อาจจะทำสามัญคุณ และพรหมัญคุณนั้นได้ด้วยกล่าวว่า เอาเถอะ เราจะกินผักดองเป็นอาหาร กิน ข้าวฟ่างเป็นอาหาร ฯลฯ กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร กินผลไม้หล่นยังชีพ เพราะสามัญคุณหรือพรหมัญคุณจักได้ชื่อว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากแสนยาก ก็ต่อ เมื่อได้เว้นจากการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึง ควรกล่าวว่า สามัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก หาก ภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่าสมณะบ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๗}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะที่ไร้ประโยชน์
แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นผู้นุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน ฯลฯ อาบน้ำวัน ละ ๓ ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ ถ้าสามัญคุณหรือพรหมัญคุณซึ่งถือว่าเป็นกิจที่ทำ ได้ยากแสนยาก จักมีได้ด้วยการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และด้วยการบำเพ็ญตบะ ดังกล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า สามัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็น กิจที่ทำได้ยาก เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดี แม้กระทั่งนางกุมภทาสี ก็อาจจะทำสามัญคุณ และพรหมัญคุณนั้นได้ด้วยกล่าวว่า เอาเถอะ เราจะนุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้า แกมกัน ฯลฯ อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ เพราะสามัญคุณหรือพรหมัญคุณจักได้ชื่อว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากแสนยาก ก็ต่อ เมื่อได้เว้นจากการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึง ควรกล่าวว่า สามัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก หาก ภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่าสมณะบ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง [๓๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ อเจลกัสสปะกราบทูลว่า ท่าน พระโคดม สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้อที่สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ ยากเป็นเรื่องปกติในโลก แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นอเจลก ไม่มีมารยาท เลียมือ ฯลฯ ถือการบริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้อเช่นนี้ ถ้าสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งถือ ว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยากแสนยากจักมีได้ด้วยการปฏิบัติเพียงเล็กๆ น้อยๆ และด้วยการ บำเพ็ญตบะดังกล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์ เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดีแม้กระทั่งนางกุมภทาสีก็อาจรู้จักสมณะและ พราหมณ์นั้นได้ด้วยกล่าวว่า ผู้นี้เป็นอเจลก ไม่มีมารยาท เลียมือ ฯลฯ ถือการ บริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้อเช่นนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๘}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะที่ไร้ประโยชน์
เพราะสมณะหรือพราหมณ์จักได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยากแสนยาก ก็ต่อเมื่อได้เว้น จากการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก หากภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่ มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะ บ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร ฯลฯ กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร กินผลไม้หล่นยังชีพ ถ้าสมณะหรือพราหมณ์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยากแสนยากจักมีได้ด้วยการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และด้วยการ บำเพ็ญตบะดังกล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์ เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดีแม้กระทั่งนางกุมภทาสีก็อาจรู้จักสมณะและ พราหมณ์นั้นได้ด้วยกล่าวว่า ผู้นี้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร ฯลฯ กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร กินผลไม้หล่นยังชีพ เพราะสมณะหรือพราหมณ์จักได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยากแสนยาก ก็ต่อเมื่อได้เว้น จากการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก หากภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่าสมณะ บ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นผู้นุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน ฯลฯ อาบน้ำ วันละ ๓ ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ ถ้าสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก แสนยาก จักมีได้ด้วยการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และด้วยการบำเพ็ญตบะดังกล่าวนี้ แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๙}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น
เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดีแม้กระทั่งนางกุมภทาสีก็อาจรู้จักสมณะและ พราหมณ์นั้นได้ด้วยกล่าวว่า ผู้นี้นุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน ฯลฯ อาบน้ำ วันละ ๓ ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ เพราะสมณะหรือพราหมณ์จักได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยากแสนยาก ก็ต่อเมื่อได้เว้น จากการปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก หากภิกษุเจริญเมตตาจิตอัน ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทำให้รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง ว่าพราหมณ์บ้างความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น [๔๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ อเจลกัสสปะทูลถามว่า ท่านพระ โคดม สีลสัมปทานั้นเป็นอย่างไร จิตสัมปทานั้นเป็นอย่างไร ปัญญาสัมปทานั้นเป็น อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัสสปะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็น พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ประกอบด้วยกายกรรมและวจีกรรมอันเป็นกุศล มี อาชีวะบริสุทธิ์ สมบูรณ์ด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย สมบูรณ์ด้วย สติสัมปชัญญะ(และ)เป็นผู้สันโดษ [๔๐๑] ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ข้อนี้จัดเป็นสีลสัมปทาของภิกษุอย่างหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยอันตรายจากการสำรวมในศีล เลย เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกเป็นพระราชา กำจัดข้าศึกได้แล้ว ย่อม ไม่ประสบภัยอันตรายจากข้าศึกเลย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยอริยสีลขันธ์อย่างนี้ ย่อม เสวยสุขอันไม่มีโทษในภายใน กัสสปะ ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล นี้ แลเป็นสีลสัมปทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๐}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยทรงบันลืออย่างองอาจดังพญาราชสีห์
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุ จตุตถฌานอยู่ นี้แลเป็นจิตสัมปทา เมื่อมีจิตเป็นสมาธิอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ ฯลฯ๑- รู้ชัด ว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป นี้แลเป็นปัญญาสัมปทา กัสสปะ สีลสัมปทา จิตสัมปทา และปัญญาสัมปทาอย่างอื่นที่ยอดเยี่ยม กว่าและประณีตกว่าสีลสัมปทา จิตสัมปทา และปัญญาสัมปทานี้ไม่มีอีกแล้วว่าด้วยทรงบันลืออย่างองอาจดังพญาราชสีห์ [๔๐๒] กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องศีล กล่าวสรรเสริญศีล มากมาย ศีลอันยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็นผู้จะทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไป หาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียวเป็นผู้ล้ำเลิศในศีลอันยอดเยี่ยม คือ อธิศีล กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องตบะที่กีดกันกิเลส กล่าวสรรเสริญ ตบะที่กีดกันกิเลสมากมาย ตบะที่กีดกันกิเลสอย่างยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็น ผู้จะทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไปหาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียว เป็นผู้ล้ำเลิศในตบะที่กีดกันกิเลสอันยอดเยี่ยม คืออธิเชคุจฉะ กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องปัญญา กล่าวสรรเสริญปัญญาไว้ มากมาย ปัญญาอันยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็นผู้จะทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไปหาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียวเป็นผู้ล้ำเลิศในปัญญาอันยอด เยี่ยม คืออธิปัญญา กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องความหลุดพ้น กล่าวสรรเสริญ ความหลุดพ้นไว้มากมาย ความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็นผู้จะ ทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไปหาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียวเป็นผู้ ล้ำเลิศในเรื่องความหลุดพ้น คืออธิวิมุตติ @เชิงอรรถ : @๑ ดูความเต็มในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๔-๒๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๑}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยทรงบันลืออย่างองอาจดังพญาราชสีห์
[๔๐๓] กัสสปะ เป็นไปได้ที่พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์จะกล่าวอย่างนี้ว่า พระ สมณโคดมทรงบันลือสีหนาท๑- แต่ทรงบันลือในเรือนว่างเท่านั้น ไม่ทรงบันลือใน บริษัท๒- เลย ท่านพึงบอกพวกเขาว่า พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระสมณโคดม ทรงบันลือสีหนาทและทรงบันลือในบริษัทด้วย กัสสปะ เป็นไปได้ที่พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์จะกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณ- โคดมทรงบันลือสีหนาทและทรงบันลือในบริษัท แต่ไม่ทรงบันลืออย่างองอาจ ท่าน พึงบอกพวกเขาว่า พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระสมณโคดมทรงบันลือสีหนาท และทรงบันลือในบริษัท พร้อมทั้งทรงบันลืออย่างองอาจด้วย กัสสปะ เป็นไปได้ที่พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์จะกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณ- โคดมทรงบันลือสีหนาทและทรงบันลือในบริษัท พร้อมทั้งทรงบันลืออย่างองอาจ แต่เทวดาและมนุษย์ไม่ได้ทูลถามปัญหา ฯลฯ และเทวดาและมนุษย์ทูลถามปัญหา แต่พระองค์ก็ทรงตอบไม่ได้ ฯลฯ และพระองค์ทรงตอบได้ แต่ก็ทำให้ผู้ถามพอใจไม่ได้ ฯลฯ และพระองค์ทรงทำให้ผู้ถามพอใจได้ แต่พวกเขาก็ไม่สนใจฟัง ฯลฯ และพวก เขาสนใจฟัง แต่ก็ไม่เลื่อมใส ฯลฯ และพวกเขาเลื่อมใสแต่ก็ไม่แสดงออก ฯลฯ และ พวกเขาแสดงออก แต่ก็ไม่ปฏิบัติตาม ฯลฯ และพวกเขาปฏิบัติตาม แต่ก็ไม่ชื่นชม ยินดี ท่านพึงบอกพวกเขาว่า พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระสมณโคดมทรง บันลือสีหนาท ทรงบันลือในบริษัทและทรงบันลืออย่างองอาจ เทวดาและมนุษย์พา กันทูลถามปัญหา พระองค์ทรงตอบได้ พระองค์ทรงทำให้ผู้ถามพอใจได้ พวกเขาก็ สนใจฟัง ฟังแล้วก็เลื่อมใส เลื่อมใสแล้วก็แสดงออก แสดงออกแล้วก็ปฏิบัติตาม เมื่อปฏิบัติตามต่างก็ชื่นชมยินดี @เชิงอรรถ : @๑ ทรงบันลือสีหนาท หมายถึง คำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรง @มั่นพระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๑/๔๐๓/๔๓๒) @๒ บริษัท ในที่นี้หมายถึง กลุ่มของบุคคลหลายสถานะที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อต้องการจะฟังพระธรรม- @เทศนา มี ๘ กลุ่มคือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกาบริษัท @ตาวติงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท (ม.มู. ๑๒/๑๕๑/๑๑๒, ที.สี.อ. ๔๐๓/๒๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๒}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการอยู่ปริวาสของเดียรถีย์
ว่าด้วยการอยู่ปริวาสของเดียรถีย์ [๔๐๔] กัสสปะ ครั้งหนึ่งเราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ เพื่อน พรหมจารีคนหนึ่งของท่านในกรุงราชคฤห์ชื่อนิโครธปริพาชก ได้ถามปัญหาเรื่อง ตบะที่กีดกันกิเลสอย่างยอดเยี่ยม เมื่อเราตอบคำถาม เขาก็ปลื้มใจเป็นอย่างมาก อเจลกัสสปะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีใครเล่าที่ฟังธรรมของพระผู้มี พระภาคแล้วจะไม่ปลื้มใจ แม้ข้าพระองค์ได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเองแล้วก็ยัง ปลื้มใจเป็นอย่างมาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดย ตั้งใจว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้ อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค [๔๐๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กัสสปะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะ บรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส๑- ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน ล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ อนึ่ง ในเรื่องนี้เรา คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะ บรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน ล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์จักขออยู่ ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็น ภิกษุ @เชิงอรรถ : @๑ ปริวาสในพระสูตรนี้เรียกว่า ติตถิยปริวาส ได้แก่ ข้อบังคับนักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่หันมาเลื่อมใส @พระธรรมวินัยแล้วประสงค์จะบวชเป็นภิกษุ ให้ขอปริวาสต่อสงฆ์ แล้วดำรงตนอย่างสามเณรครบ ๔ เดือน @จนสงฆ์พอใจจึงจะขออุปสมบทเป็นภิกษุได้ (ที.สี.อ. ๔๐๕/๒๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๓}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการอยู่ปริวาสของเดียรถีย์
อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค เมื่อบวชแล้ว ไม่นาน จากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มุ่งมั่นพระนิพพานอยู่ ไม่นาน นักก็ทำให้แจ้งที่สุดแห่งพรหมจรรย์๑- อันยอดเยี่ยม ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน ไปบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีกต่อไป จึงเป็นอันว่า ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระ อรหันต์ทั้งหลายมหาสีหนาทสูตรที่ ๘ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ หมายถึงจุดสุดท้ายของการประพฤติธรรม ในที่นี้หมายเอา พระอรหัตตผล อันเป็น @จุดหมายสูงสุดของมรรคพรหมจรรย์ (ที.สี.อ. ๔๐๕/๓๐๐) @๒ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึง กิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจ @ที่จะต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ชื่อว่า อเสขบุคคล (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๖๑-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=8 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=5295&Z=6028 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=260 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=9&item=260&items=15 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=4&A=7552 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=9&item=260&items=15 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=4&A=7552 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i260-e.php# https://suttacentral.net/dn8/en/sujato https://suttacentral.net/dn8/en/tw_rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]