วรรคที่ ๒ อุชชัคฆิกวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๘๑๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๕๖. ๑๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความ
หัวเราะลั่น.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดิน-
*หัวเราะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑- ๑ ทำอาการเพียงยิ้มแย้มในเมื่อมีเรื่องที่น่าขัน ๑
มีอันตราย ๒- ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๑๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งหัวเราะลั่นอยู่ในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๕๗. ๑๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน. ด้วยทั้งความ
หัวเราะลั่น.
@๑. ๒. บาลี ๒ บทนี้ ควรพิจารณา เพราะคนไข้ไม่ต้องการหัวเราะ และในคราวมีอันตราย
@ก็ไม่จำเป็นหัวเราะ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งหัวเราะลั่นในละแวกบ้าน. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งใน
ละแวกบ้านหัวเราะลั่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑- ๑ ทำอาการเพียงยิ้มแย้มในเมื่อมีเรื่องที่น่าขัน ๑
มีอันตราย ๒- ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๑๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินส่งเสียงตะเบ็ง เสียงตะโกน
ไปในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๕๘. ๑๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงมีเสียงเบาเดินไปในละแวกบ้าน. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินส่งเสียง
ตะเบ็ง เสียงตะโกนไปในละแวกบ้าน. ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
@๑. ๒. แม้บาลี ๒ บทนี้ ก็ควรพิจารณาโดยนัยดังกล่าวแล้ว.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๑๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งส่งเสียงตะเบ็ง เสียงตะโกนลั่นอยู่ใน
ละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๕๙. ๑๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อย นั่งในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงมีเสียงเบา นั่งในละแวกบ้าน. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ส่งเสียง
ตะเบ็ง เสียงตะโกน นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๑๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน.
วางท่าภาคภูมิ ...
พระบัญญัติ
๑๖๐. ๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินโยกกายไปในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน พึงประคองกายเดินไป. ภิกษุใดอาศัย
ความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๑๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงกายอยู่ในละแวกบ้าน วางท่า
ภาคภูมิ ...
พระบัญญัติ
๑๖๑. ๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งโยกกายในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งโคลงกายในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองกาย. ภิกษุใดอาศัยความ
ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๑๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไกวแขนไปในละแวกบ้าน
แสดงท่ากรีดกราย ...
พระบัญญัติ
๑๖๒. ๑๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน พึงประคองแขนเดินไป. ภิกษุใด
อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกราย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๑๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งไกวแขน แสดงท่ากรีดกราย
ในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๖๓. ๑๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งไกวแขนในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองแขน. ภิกษุใดอาศัยความไม่-
*เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งไกวแขนในละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกราย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๑๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน
ทำท่าคอพับ ...
พระบัญญัติ
๑๖๔. ๑๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน พึงเดินประคองศีรษะไป ภิกษุใดอาศัย
ความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ทำท่า
คอพับ ...
พระบัญญัติ
๑๖๕. ๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองศีรษะ ภิกษุใดอาศัยความไม่
เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ทำศีรษะให้ห้อย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
วรรคที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๕๓๑๘-๑๕๔๕๒ หน้าที่ ๖๖๕-๖๗๑.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=15318&Z=15452&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=2&A=15318&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=136
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=810
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=2&A=9693
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10446
The Pali Tipitaka in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=2&A=9693
The Pali Atthakatha in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10446
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒
http://84000.org/tipitaka/read/?index_2
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk11
https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk12
https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk13
https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk14
https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk15
https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk16
https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk17
https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk18
https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk19
https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk20
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
