บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ [๒๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ปปาตะบรรพตเขตกุรรฆระนคร ในอวันตีชนบท ก็คราวนั้นอุบาสกชื่อโสณกุฏิกัณณะ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหากัจจานะ นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั่งอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบเรียน คำนี้กะท่านพระมหากัจจานะว่า ท่านขอรับ ด้วยวิธีอย่างไรๆ กระผมจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่ พระคุณเจ้าแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดย ส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย กระผมปรารถนาจะปลง ผมและหนวด ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ากรุณาโปรดให้ กระผมบวชเถิด ขอรับ เมื่ออุบาสกโสณกุฏิกัณณะกราบเรียนเช่นนี้แล้ว ท่านมหากัจจานะได้ กล่าวคำนี้กะอุบาสกโสณกุฏิกัณณะว่า โสณะ การประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งต้องนอนผู้เดียว บริโภคอาหารหนเดียวจนตลอดชีพ ทำได้ยากนักแล เอาเถอะ โสณะ คุณจงเป็นคฤหัสถ์ อยู่ในจังหวัดนี้แหละ แล้วประกอบตามพระพุทธศาสนา ประกอบตามพรหมจรรย์ ซึ่งต้องนอน ผู้เดียว บริโภคอาหารหนเดียว ควรแก่กาลเถิด. คราวนั้น ความตั้งใจบรรพชาซึ่งได้เกิดแก่อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั้นสงบลงแล้ว แม้ครั้งที่สองแล อุบาสกโสณกุฏิกัณณะ .... แม้ครั้งที่สามแล อุบาสกโสณกุฏิกัณณะได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ นมัสการ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกโสณกุฏิกัณณะนั่งอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบเรียนคำนี้ กะท่านพระมหากัจจานะว่า ท่านขอรับ ด้วยวิธีอย่างไรๆ กระผมจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระคุณเจ้า แสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย กระผมปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ากรุณาโปรดให้กระผมบวชเถิด ขอรับ ครั้นนั้น ท่านมหากัจจานะให้อุบาสกโสณกุฏิกัณณะบรรพชาแล้ว. ก็สมัยนั้น อวันตีชนบทอันตั้งอยู่แถบใต้ มีภิกษุน้อยรูป ท่านพระมหากัจจานะจัดหา พระภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบาก ต่อล่วงไปถึง ๓ ปี จึงอุปสมบท ให้ท่านพระโสณะได้.พระโสณเถระรำพึงแล้วอำลาเข้าเฝ้า ครั้งนั้น ท่านพระโสณะจำพรรษาแล้ว ไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่ง จิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เราได้ยินมาอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้เช่นนี้และ เช่นนี้ แต่เรามิได้เฝ้าต่อพระพักตร์ เราควรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น หากพระอุปัชฌายะจะพึงอนุญาตแก่เรา ครั้นเวลาสายัณห์ ท่านออกจากที่หลีกเร้นแล้ว จึงเข้า ไปหาท่านพระมหากัจจานะ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบเรียนว่า ท่านขอรับ กระผมไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระ- *ภาคพระองค์นั้น เราได้ยินมาอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้เช่นนี้และเช่นนี้ แต่เรามิได้เฝ้าต่อพระพักตร์ เราควรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น หากพระอุปัชฌายะจะพึง อนุญาตแก่เรา ท่านขอรับ กระผมจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น หากท่านพระอุปัชฌายะจะอนุญาตแก่กระผม.อาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ ท่านมหากัจจานะ กล่าวว่าดีละ ดีละ คุณโสณะ คุณจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น คุณจักเห็นพระองค์ผู้น่าเลื่อมใส ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ทรงถึงความฝึกกายและความสงบจิตอันสูงสุด ทรงทรมานแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว ผู้ไม่ทำบาป คุณโสณะ ถ้าเช่นนั้น คุณจงถวายบังคม พระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามฉันสั่งว่า ท่านมหากัจจานะ อุปัชฌายะ ของข้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคม พระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าพระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ และคุณจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ๑. พระพุทธเจ้าข้า จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดหา ภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบาก นับแต่วันข้าพระพุทธเจ้าบรรพชา ล่วงไป ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไรเฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ พึงทรงอนุญาตอุปสมบทด้วย คณะสงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้. ๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ขรุขระดื่นดาด ด้วยระแหงกีบโค ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาต รองเท้าหลายชั้น. ๓. พระพุทธเจ้าข้า คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ ถ้ากระไร เฉพาะในอวันติทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาค พึงทรงอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์. ๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถก็มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาค พึงทรงอนุญาตหนังเครื่องลาด คือ หนัง แกะ หนังแพะ หนังมฤค. ๕. พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายฝากถวายจีวรเพื่อหมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายจีวรผืนนี้แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุผู้รับฝากมาบอกว่า อาวุโส คนทั้งหลาย มีชื่อนี้ถวายจีวรแก่ท่านแล้ว พวกภิกษุผู้รับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยคิดว่า พวกเรา ไม่ต้องการของเป็นนิสสัคคีย์ ถ้ากระไร ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสชี้แจงในเรื่องจีวร.พระโสณะเถระเข้าเฝ้า ท่านพระโสณะรับสนองคำของท่านพระมหากัจจานะว่าปฏิบัติตามอย่างนั้นขอรับ แล้ว ลุกจากอาสนะอภิวาทท่านพระมหากัจจานะทำประทักษิณแล้ว เก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรเดิน ไปทางที่จะไปพระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะ ต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้ จึงท่านพระอานนท์คิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระบัญชาใช้เราเพื่อ ภิกษุรูปใดว่า ดูกรอานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาค ย่อมปรารถนาจะประทับอยู่ในพระวิหารแห่งเดียวกับภิกษุรูปนั้น พระผู้มีพระภาคปรารถนาจะ ประทับอยู่ในพระวิหารแห่งเดียวกับท่านพระโสณะเป็นแน่ ดังนี้ จึงจัดเสนาสนะต้อนรับท่าน พระโสณะในพระวิหารอันเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาค.ถวายเทศน์ในพระวิหาร [๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงเสด็จเข้าพระวิหาร แม้ท่าน พระโสณะก็ยับยั้งอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเข้าพระวิหาร ครั้นเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาค ทรงตื่นพระบรรทมแล้วทรงอัชเฌสนาท่านพระโสณะว่า ดูกรภิกษุ เธอจงกล่าวธรรมตามถนัด ท่านพระโสณะกราบทูลสนองพระพุทธบัญชาว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้สวดพระสูตร ทั้งหลาย อันมีอยู่ในอัฏฐกวรรค จนหมดสิ้นโดยสรภัญญะ ครั้นจบสรภัญญะของท่านพระโสณะ พระผู้มีพระภาคทรงพระปราโมทย์โปรดประทานสาธุการว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ สูตรทั้งหลายที่มีใน อัฏฐกวรรคเธอเรียนมาดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงจำได้แม่นยำดี เธอเป็นผู้ประกอบด้วยวาจา ไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีโทษ ให้เข้าใจรู้ความได้แจ่มชัด เธอมีพรรษาเท่าไร ภิกษุ? ท่านพระโสณะกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีพรรษาเดียว พระพุทธเจ้าข้า ภ. เพราะเหตุไร เธอจึงมัวประพฤติชักช้าเช่นนั้นเล่า ภิกษุ? โส. ข้าพระพุทธเจ้าเห็นโทษในกามทั้งหลายนานแล้ว แต่เพราะฆราวาสคับแคบ มีกิจ มาก มีกรณียมาก จึงได้ประพฤติชักช้าอยู่ พระพุทธเจ้าข้า.ทรงเปล่งพระอุทาน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความข้อนี้แล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้น ว่าดังนี้:- อารยชนเห็นโทษในโลก ทราบธรรมที่ปราศจาก อุปธิแล้ว ฉะนั้น จึงไม่ยินดีในบาป เพราะคน สะอาดย่อมไม่ยินดีในบาป.กราบทูลอาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ [๒๒] ลำดับนั้น ท่านพระโสณะคิดว่า พระผู้มีพระภาคกำลังโปรดปรานเรา เวลานี้ ควรกราบทูลถ้อยคำที่พระอุปัชฌายะของเราสั่งมา ดังนี้ แล้วลุกจากที่นั่ง ห่มจีวรเฉวียงบ่า หมอบ ลงที่พระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วได้กราบทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระมหากัจจานะ อุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายบังคมพระบาท ยุคลของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลอย่างนี้ว่า ๑. พระพุทธเจ้าข้า จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดหา ภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบาก นับแต่วันข้าพระพุทธเจ้าบรรพชา ล่วงไป ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคพึงทรง อนุญาตอุปสมบท ด้วยคณะสงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้ ๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ขรุขระดื่นดาดด้วย ระแหงกีบโค ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตรองเท้า หลายชั้น ๓. พระพุทธเจ้าข้า คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้ บริสุทธิ์ ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถขอพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตอาบน้ำได้เป็นนิตย์ ๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถก็มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตหนังเครื่องลาด คือ หนัง แกะ หนังแพะ หนังมฤค ๕. พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายฝากถวายจีวรแก่หมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายจีวรผืนนี้แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุผู้รับฝากมาบอกว่า อาวุโส คน ทั้งหลายมีชื่อนี้ถวายจีวรแก่ท่านแล้ว พวกภิกษุผู้ได้รับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยคิดว่า พวกเราไม่ต้องการของเป็นนิสสัคคีย์ ถ้ากระไร ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสชี้แจงในเรื่องจีวร.พระพุทธานุญาตพิเศษ [๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:- ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป เราอนุญาตการอุปสมบท ด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ ๕ ได้ ทั่วปัจจันตชนบท ๑-กำหนดเขตปัจจันตชนบทและมัชฌิมชนบท บรรดาชนบทเหล่านั้น ปัจจันตชนบท มีกำหนดเขต ดังนี้:- ในทิศบูรพามีนิคมชื่อกชังคละ ถัดนิคมนั้นมาถึงมหาสาลนคร นอกนั้นออกไปเป็น ปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ๑- @๑. จังหวัดภายในเป็นศูนย์กลางของประเทศ ในทิศอาคเนย์ มีแม่น้ำชื่อสัลลวตี นอกแม่น้ำสัลลวตีนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ในทิศทักษิณ มีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ นอกนิคมนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมใน เป็นมัชฌิมชนบท ในทิศปัจฉิม มีพราหมณคามชื่อถูนะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมใน เป็นมัชฌิมชนบท ในทิศอุดร มีภูเขาชื่ออุสีรธชะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็น มัชฌิมชนบท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบท ด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ ๕ ได้ ทั่ว ปัจจันตชนบทเห็นปานนี้ ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ดื่นดาดด้วยระแหง กีบโค เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้น ทั่วปัจจันตชนบท ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถ นิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้ บริสุทธิ์ เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ทั่วปัจจันตชนบท ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถ ก็มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล เราอนุญาตหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ทั่วปัจจันตชนบท ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คนทั้งหลายในโลกนี้ฝากถวายจีวรเพื่อหมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ยินดีได้ จีวรนั่นยังไม่ควรนับราตรีตลอดเวลาที่ยังไม่ถึงมือ.จัมมขันธกะ ที่ ๕ จบ. ในขันธกะนี้มี ๖๓ เรื่อง ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๕๔๕-๖๙๕ หน้าที่ ๒๓-๒๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=545&Z=695&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=5&A=545&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=5 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=20 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=5&A=596 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3809 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=5&A=596 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3809 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/brahmali#pli-tv-kd5:13.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/horner-brahmali#Kd.5.12.1
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]