บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
เวสารัชชสูตร [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร เวสารัชชญาณของตถาคตมี ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านปฏิญาณว่าเป็นพระสัมมา- *สัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ยังไม่ตรัสรู้แล้ว เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ย่อมเป็นผู้ถึง ความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่ เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านปฏิญาณว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความ เกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็น นิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จัก ทักท้วงเราด้วยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่า ทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์ อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม เมื่อ เราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความ แกล้วกล้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าใด ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร เวสารัชชญาณของตถาคตมี ๔ ประการนี้แล ฯ วาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เขาตระเตรียมไว้มาก และ สมณพราหมณ์ทั้งหลายอาศัยวาทะใด วาทะเหล่านั้นมาถึง พระตถาคตผู้แกล้วกล้า ผู้ล่วงวาทะเสียได้ ย่อมหายไป ผู้ใดครอบงำธรรมจักรอันเป็นโลกุตตรประกาศแล้ว มีปรกติ อนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้า สัตว์ทั้งหลายย่อมนมัสการผู้เช่นนั้น ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ฯจบสูตรที่ ๘ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๗๘-๒๐๗ หน้าที่ ๘-๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=178&Z=207&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=21&A=178&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=8 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=8 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=21&A=202 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6550 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=21&A=202 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6550 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e.php#sutta8 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e2.php#sutta8 https://suttacentral.net/an4.8/en/sujato https://suttacentral.net/an4.8/en/bodhi
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]