ปัญญาวรรค วิเวกกถา
สาวัตถีนิทาน
[๗๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง
การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้
การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการอย่างนี้ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มาก
ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
[๗๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างไร ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฐิอันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ...
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
ความสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ
ทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและ
ภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วย
ประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาศัยศีล
ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯ
[๗๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
อย่างไร ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฐิอันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ... เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕
มีวิราคะ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ สัมมาสังกัปปะ
ฯลฯ สัมมาสมาธิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕
มีนิสัย ๑๒ ฯ
[๗๐๔] สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ
วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ
วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวก
ในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑
สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิ
วิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในวิเวก ๕ นี้ ฯ
[๗๐๕] สัมมาทิฐิมีวิราคะ ๕ เป็นไฉน ฯ
วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ
ปฏิปัสสัทธิวิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ
ปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณวิราคะเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฐิมีวิราคะ ๕
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในวิราคะ ๕ นี้ ฯ
[๗๐๖] สัมมาทิฐิมีนิโรธ ๕ เป็นไฉน ฯ
นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ
ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ
ปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณนิโรธเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฐิมีนิโรธ ๕
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในนิโรธ ๕ นี้ ฯ
[๗๐๗] สัมมาทิฐิมีความสละ ๕ เป็นไฉน ฯ
ความสละ ๕ คือ วิกขัมภนโวสสัคคะ ตทังคโวสสัคคะ สมุจเฉทโวสสัคคะ
ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ นิสสรณโวสสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ของภิกษุ
ผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณโวสสัคคะ เป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑
สัมมาทิฐิมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ ๕ นี้ ฯ
สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕
มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ ฯ
[๗๐๘] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ
วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ
วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวกใน
การละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส ๑
สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิ
วิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิเวก
๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในวิเวก ๕ นี้ ฯ
[๗๐๙] สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ เป็นไฉน ฯ
วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ ปฏิปัสสัทธิ
วิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ...
นิสสรณวิราคะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ เหล่านี้
ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีใน
วิราคะ ๕ นี้ ฯ
[๗๑๐] สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ เป็นไฉน ฯ
นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ
ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑
... ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผล ๑ นิสสรณนิโรธเป็นอมตธาตุ ๑ สัมมา
สมาธิมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต
ตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้ ฯ
[๗๑๑] สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เป็นไฉน ฯ
ความสละ ๕ คือ วิกขัมภนโวสสัคคะ ตทังคโวสสัคคะ สมุจเฉทโวสสัคคะ
ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ นิสสรณโวสสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ ของภิกษุ
ผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ความสละในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิ
อันมีส่วนทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสสัคคะ ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้
ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะในขณะผล ๑ นิสสรณโวสสัคคะเป็นนิโรธ
คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ
น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ ๕ นี้ ฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย
๑๒ เหล่านี้ ฯ
[๗๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลัง อย่างใดอย่างหนึ่ง
การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้
การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์
๗ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุเจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อยู่
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มาก
ซึ่งพละ ๕ ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ ๕ อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูต
คามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยประการ
ฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาศัยศีล ตั้งอยู่ใน
ศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากอยู่ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ในธรรมทั้งหลาย ฯ
[๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
อย่างไร ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ เจริญสตินทรีย์
เจริญสมาธินทรีย์ เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในความสละ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความ
สละ ๕ มีนิสัย ๑๒ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ ฯ
[๗๑๔] สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ
วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ
วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑
วิเวกในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลาย
กิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑
ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑
สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฯลฯ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕
มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์
ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ
วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ
วิเวก นิสสรณวิเวก ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕
มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ ฉะนี้แล ฯ
จบวิเวกกถา ฯ
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๐๔๓๒-๑๐๕๕๙ หน้าที่ ๔๓๔-๔๓๙.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10432&Z=10559&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=10432&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=83
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=701
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=12213
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=8050
The Pali Tipitaka in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=12213
The Pali Atthakatha in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=8050
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
http://84000.org/tipitaka/read/?index_31
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
