ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๒๗๗] ญาณในฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่องแห่งสัตว์
ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็นไฉน ฯ
             ในญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงทราบฉันทะเป็นที่มานอน กิเลสอันนอน
เนื่อง จริต อธิมุติ ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบชัดภัพพสัตว์และอภัพพสัตว์ ฯ
             [๒๗๘] ก็ฉันทะเป็นที่มานอนของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ฯ
             สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อาศัยทิฐิในภพก็มี อาศัยทิฐิในความปราศจากภพก็มี
ดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง
ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
แล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง บุคคลไม่ข้องแวะส่วนที่สุด
ทั้งสองนี้เสียแล้ว เป็นอันได้ขันติอันสมควร ในธรรมทั้งหลายอันอาศัยกันคือ
ความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯ
             อนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกาม ด้วยยถาภูตญาณ คือ
ทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มีกามเป็นที่อาศัย น้อมใจ
ไปในกาม ทรงทราบบุคคลผู้เสพเนกขัมมะว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในเนกขัมมะ
มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในเนกขัมมะ ทรงทราบบุคคลผู้เสพพยาบาทว่า
บุคคลนี้เป็นผู้หนักในพยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในพยาบาท
ทรงทราบบุคคลผู้เสพความไม่พยาบาทว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในความไม่พยาบาท
มีความไม่พยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในความไม่พยาบาท ทรงทราบบุคคล
ผู้เสพถีนมิทธะว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีนมิทธะเป็นที่อาศัย
น้อมใจไปในถีนมิทธะ ทรงทราบบุคคลผู้เสพอาโลกสัญญาว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนัก
ในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในอาโลกสัญญา ฯ
             [๒๗๙] ก็กิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ฯ
             กิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กามราคานุสัย
ของหมู่สัตว์ ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์อันเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ปฏิฆานุสัย
ของหมู่สัตว์ ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์อันไม่เป็นที่รักที่ยินดีในโลก อวิชชาตก
ไปตามในธรรมสองประการนี้ ดังนี้ มานะ ทิฐิ และวิจิกิจฉา ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกัน
กับอวิชชานั้น ก็พึงเห็นดังนั้น นี้เป็นกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย ฯ
             [๒๘๐] ก็จริตของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญา
ภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร เป็นภูมิน้อยก็ตาม เป็นภูมิมากก็ตาม นี้เป็นจริต
ของสัตว์ทั้งหลาย ฯ
             [๒๘๑] ก็อธิมุติของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติเลวก็มี
มีอธิมุติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุติเลว ย่อมสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้
กะสัตว์ผู้มีอธิมุติเลวเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุติประณีต ย่อมสมาคมคบหา
เข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุติประณีตเหมือนกัน แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มี
อธิมุติเลว ก็สมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุติเลวเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอธิมุติประณีต ก็สมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุติประณีตเหมือนกัน
แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุติเลว ก็จักสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์
ผู้มีอธิมุติเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุติประณีต ก็จัดสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้
กะสัตว์ ผู้มีอธิมุติประณีตเหมือนกัน นี้เป็นอธิมุติของสัตว์ทั้งหลาย ฯ
             [๒๘๒] อภัพพสัตว์เป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรม
เป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่มีฉันทะ มี
ปัญญาทราม ไม่อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้
เป็นอภัพพสัตว์ ฯ
             [๒๘๓] ภัพพสัตว์เป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
เป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา
อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นภัพพสัตว์ นี้เป็นญาณ
ในฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่องแห่งสัตว์ทั้งหลาย ของ
พระตถาคต ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๓๐๗๙-๓๑๒๙ หน้าที่ ๑๒๖-๑๒๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=3079&Z=3129&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=3079&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=57              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=277              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=3579              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=85              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=3579              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=85              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]